Monday 26 September 2016

ที่มาที่ไปของเพลง Skye Boat Song

Skye Boat Song มรดกจิตวิญญาณชาวสก็อต          
        ก่อนจะพูดถึงที่มาที่ไปของเพลง Skye Boat Song เราอาจต้องนึกถึงสภาพการเมืองและสังคมในประเทศอังกฤษในศตวรรษที่ 16-17.  ชาวอังกฤษเฉกเช่นชาวยุโรปส่วนใหญ่ อยู่ใต้อิทธิพลของศาสนจักรโรมันคาทอลิกที่กรุงโรมมาตั้งแต่ต้นคริสตกาล. แต่ในศตวรรษที่ 16 เกิดวิกฤตศรัทธาที่ทวีความรุนรงจนนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาและการสถาปนาลัทธิโปรเตสแตนต์.  ปัญญาชนหลายกลุ่มในยุโรป (ในเยอรมนี เนเธอแลนด์เป็นต้น) หันไปนับถือลัทธิโปรเตสแตนต์ เกิดความแตกแยกครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ยุโรป. หากหัวอกคนเป็นที่รวมความรู้สึก ยุคนั้นยุโรป อกแตกเป็นสองเสี่ยงใหญ่ๆ จนเกิดสงครามศาสนาขึ้น (1524-1648). ในอังกฤษวิกฤตการณ์ทางศาสนาทวีความรุนแรงขึ้นอีกในปี 1534 เมื่อพระเจ้า Henri VIII (ครองราชย์ระหว่างปี 1509-1547)  สถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นประมุขของศาสนา Church of England (เข้าค่ายโปรเตสแตนต์) และแยกประเทศอังกฤษออกจากศาสนจักรที่กรุงโรมอย่างเด็ดขาดแบบตัดบัวไม่ไว้ไย.  เช่นนี้ทำให้พระองค์หย่าพระมเหสีคนแรกได้เพื่อแต่งงานใหม่ ต่อมาก็หย่าแล้วแต่งงานใหม่อีกรวมทั้งสิ้นมีพระชายาหกคน. การประกาศหันไปนับถือโปรเตสแตนต์ ไม่ทำให้ชาวอังกฤษทุกคนพอใจ. เกิดกบฏต่อต้านบ้างแต่ก็ถูกกองทหารของพระองค์จับกุมและฆ่าทิ้งไปเป็นจำนวนมาก.
        ศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยพระเจ้า Charles I ผู้ครองราชย์ระหว่างปี 1625-1649 (มีโอรสสองคนผู้จะเป็นกษัตริย์คนต่อไปในนามว่า Charles II และ James Stuart ผู้คือกษัตริย์ James II แห่งอังกฤษและ James VII แห่งสก็อตแลนด์. การสืบราชวงศ์ในอังกฤษกับสก็อตแลนด์ยุคนั้นแยกกัน เป็นคนละอาณาจักรกัน คนเดียวกันเมื่อมีตำแหน่งในสองหรือสามอาณาจักร จึงมีชื่อเรียกต่างกันด้วย)  Charles I ปกครองแบบสมบูรณายาสิทธิราชและยืนยันสิทธิความเป็นกษัตริย์สมมุติเทพ. เช่นมีนโยบายสั่งเก็บภาษีโดยไม่ฟังเสียงรัฐสภา ทำให้ข้าราชการทั้งปวงมองว่าเป็นกษัตริย์เผด็จการ ประกอบกับที่พระองค์ทรงเศกสมรสกับ Henrietta Maria of France ผู้เป็นคาทอลิก. ทำให้ฝ่ายนับถือโปรเตสแตนต์คลางแคลงใจและหวั่นวิตก. ปกติสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์ขึ้นตรงต่อกษัตริย์ราชวงศ์ Stuart และชาวไอร์แลนด์ส่วนใหญ่นับถือลัทธิโรมันคาทอลิก. กองทัพสก็อตแลนด์ลงไปรุกรานอังกฤษเพื่อเรียกร้องสิทธิการนับถือศาสนาแต่ทำการไม่สำเร็จ. ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น ระหว่างกษัตริย์ Charles I (เป็นกลุ่มผู้จงรักภักดี Royalists หรือ Cavaliers) กับฝ่ายรัฐสภาเวสมินสเตอร์ (Westminster Parliament ที่เรียกว่าพวกรัฐสภา - Parliamentarians หรือมีสมญาว่า Roundheads กลุ่มหัวกลมเพราะสวมหมวกเหล็กทหารแบบกลม). กองทัพฝ่ายรัฐสภารัฐสภาต้องการคุมกองทัพไปบดขยี้ชาวไอร์แลนด์คาทอลิก  มี Oliver Cromwell เป็นผู้บัญชาการรบ (เข้ารับราชการในระหว่างปี 1640-1649 เป็นขุนพลใหญ่ผู้ประกาศตนเป็นผู้ปกป้องราชบัลลังก์ Commonwealth ที่รวมสามอาณาจักรอันมีอังกฤษ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์). เขาทำศึกมีชัยชนะเรื่อยมาและจบลงด้วยการสั่งจับ Charles I ในข้อหาทรราชและถูกตัดสินประหารชีวิต. พระราชโอรสองค์โตได้เตรียมกำลังผู้จงรักภักดีทั้งอังกฤษและสก็อตแลนด์ เพื่อต่อสู้กับฝ่ายรัฐสภา. Cromwell ตัดสินใจนำทัพเข้ารุกรานสก็อตแลนด์ในปี 1650 ภายในปีเดียวก็สามารถตีกองทหารฝ่ายจงรักภักดีให้แตกกระจุยกระจายไปเสียสิ้น. กองทัพของ Cromwell ยังคงตามไปสยบไอร์แลนด์อย่างไม่ลดละ. จนมีชัยชนะเด็ดขาดในการศึกสามอาณาจักรครั้งนี้. (ทั้งหมดนี้อยู่ในประวัติศาสตร์ตอน English Civil War, 1642-1651). มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากทั้งสองฝ่าย รวมกันในทุกสนามรบตายไปไม่ต่ำกว่สองแสนคน ในจำนวนนี้เป็นชาวสก็อตและชาวไอร์แลนด์มากที่สุด.  แต่ตลอดทศวรรษที่ 1650 เกิดกลุ่มความเชื่อลัทธิต่างๆเพิ่มขึ้นอีก ทำให้พิ้นฐานของสังคมระส่ำระสาย และเมื่อรัฐบรุษขุนพล Cromwell สิ้นชีวิตลงในปี 1658  จึงเริ่มฟื้นฟูระบบสมบูรณาญาสิทธิราชขึ้น. อังกฤษตัดสินใจนำพระโอรสองค์โต (ผู้เป็นกษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์ตั้งแต่ปี 1649-1651) กลับมาครองบัลลังก์อังกฤษด้วย เป็นพระเจ้า Charles II ในปี 1660 (จึงเป็นกษัตริย์ครองอังกฤษตั้งแต่ปี1660-1685). ในระหว่างสงครามกลางเมืองในรัชสมัยของ Charles I  พระองค์มีวัยเพียงสิบสองปี.  ถึงกระนั้นได้กลับเข้ามาอังกฤษในปี 1950 เพื่อช่วยชาวสก็อต แต่กองทัพ Cromwell สามารถสยบกองทัพฝ่ายผู้จงรักภักดีต่อกษัตริย์ได้ พระโอรสจำต้องหลบหนีไปอยู่ที่เนเธอแลนด์. เป็นอันว่าสิ้นสุดสงครามกลางเมืองบนดินแดนอังกฤษ (แต่ยังมีต่ออีกบนดินแดนสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์). ที่สำคัญคือเป็นจุดจบของระบบการเมืองแบบรีพับลิกัน (ตามนโยบายของ Cromwell) ในอังกฤษ.
       ในรัชสมัยพระเจ้า Charles II เกิดโรคระบาดปี 1665 ตามด้วยอัคคีภัยครั้งใหญ่ในปี 1666 ที่เผาไหม้กรุงลอนดอนเสียหายยับเยิน จนต้องมีการบูรณะและก่อสร้างตึกอาคารเกือบทั่วทั้งกรุงลอนดอน. รัชสมัยนี้อยู่ในยุคล่าอาณานิคมและการค้ากับอินเดีย กับหมู่เกาะ East Indies และกับอเมริกา. ชาวอังกฤษได้ยึดเมืองนิวอัมสเตอดัมจากชาวดัตช์และเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์คในปี 1664 รวมทั้งได้ออกกฎหมายการเดินเรือหลายฉบับที่จักทำให้อังกฤษกลายเป็นเจ้าทะเลในเวลาต่อมา. Charles IIได้สถาปนา the Royal Society ในปี 1660. ระหว่างปี 1665-1667  อังกฤษทำศึกและแพ้สงครามกับกลุ่มประเทศดัตช์. Charles II ได้แอบเซ็นสัญญาความร่วมมือกับพระเจ้าหลุยส์ที่ XIV แห่งฝรั่งเศส. พระองค์มีแผนเปลี่ยนไปนับถือลัทธิโรมันคาทอลิกและเข้าร่วมมือกับกองทัพฝรั่งเศสเพื่อปราบชาวดัตข์ (ในศึกระหว่างปี 1672-1674) โดยแลกเปลี่ยนกับเงินสนับสนุนจากฝรั่งเศสที่จะทำให้พระองค์มีความคล่องตัวในการจัดการกับอำนาจของรัฐสภาอังกฤษ. ในปี 1677 Charles II ได้จัดพิธีสมรสให้หลานสาว Mary กับเจ้าชาย William of Orange ผู้เป็นโปรเตสแตนต์ โดยหวังว่าจะทำให้คนเชื่อในความเป็นโปรเตสแตนต์ของพระองค์. พระองค์มีลูกนอกสมรสกับนางสนมหลายคน แต่ไม่มีบุตรจากมเหสี (Catherine of Braganza) เช่นนี้ทำให้น้องชาย James Stuart กลายเป็นทายาทสำหรับราชบัลลังก์โดยชอบธรรม. Charles II ต้องการเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจเต็มตามระบอบราชาธิปไตย จึงขัดแย้งกับรัฐสภาอังกฤษอยู่เนืองนิจโดยเฉพาะเมื่อรัฐสภาอังกฤษรู้ว่าพระองค์ได้แอบทำสัญญาความร่วมมือกับฝรั่งเศสแล้วอย่างลับๆ. ในที่สุดพระองค์สั่งยุบรัฐสภาในปี 1681 และปกครองต่อมาอย่างเอกเทศจนสิ้นพระชนม์ในปี 1685 และได้ประกาศตนเป็นคาทอลิกก่อนสิ้นใจ. 
      James Stuart พระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ของอังกฤษ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์ พระนามว่า James II แห่งอังกฤษและ James VII แห่งสก็อตแลนด์ (ครองราชย์เพียงสามปีเท่านั้น ระหว่างปี 1685-1688). ในรัชสมัยของ Charles I โดยเฉพาะในยุคที่ Cromwell มีอิทธิพลสูงสุดนั้น James Stuart ได้ลี้ภัยไปที่เมืองเฮก (The Hague) พร้อมข้าราชบริพารและกลุ่ม Royalists และได้เข้าไปอยู่ในฝรั่งเศสในความอารักขาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14.  James Stuart ได้เข้าไปช่วยงานในกองทหารฝรั่งเศสและต่อมาในกองทัพสเปน. เมื่อ Cromwell สิ้นชีวิตลง James Stuart จึงกลับไปอังกฤษ และได้รับใช้ราชการแผ่นดินสมัย Charles II พระเชษฐาและเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพเรือของอังกฤษในระหว่างสงครามกับกลุ่มชนชาติดัตช์. พระองค์ได้สมรสกับหญิงสามัญชน Anne Hyde (ในหมู่ลูกๆของเขา มีลูกสาวสองคนต่อมาจะเป็น Queen Mary II และ Queen Anne ตามลำดับ). ลูกๆได้รับการเลี้ยงดูตามครรลองของลัทธิโปรเตสแตนต์ แต่ James Stuart เองคุ้นเคยกับลัทธิโรมันคาทอลิก อันเป็นผลจากการที่ได้ไปอยู่ในฝรั่งเศส.  เมื่อภรรยาคนแรกตาย ได้แต่งงานใหม่กับเจ้าหญิงคาทอลิก Mary of Modena (บนคาบสมุทรอิตาลี) อายุ 15 ปี. มีผู้วิพากษ์วิจารณว่า เจ้าหญิงคนนี้เป็นสายสืบจากสันตะปาปาโรมันคาทอลิก. ส่วน Charles II ไม่มีบุตรเลยสักคน.
       ฝ่ายรัฐสภาอังกฤษหวั่นวิตกว่าในอนาคตจักมีการสืบรัชทายาทที่เป็นคาทอลิก ในปี 1673 ได้ลงมติประกาศกฎบัญญัติ Test Act จำกัดสิทธิ์ทางการเมืองของชาวคาทอลิก. ในปี 1679 ก็ยังพยายามออกกฎหมายเพื่อกีดกัน James Stuart จากสิทธิการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ แต่พระเจ้า Charles II ไม่เห็นด้วยและสั่งยุบรัฐสภา. ดังนั้น James Stuart จึงขึ้นเป็นพระจ้าเจมส์ที่สองเมื่อ Charles II สิ้นพระชนม์ในปี 1685. ในระหว่างรัชกาล เกิดกบฎสองครั้ง ทั้งสองครั้งมุ่งหมายจะถอดพระเจ้าเจมส์ออกจากตำแหน่ง. แต่ James II ยึดมั่นในสิทธิโดยชอบธรรมของการเป็นกษัตริย์ ได้ประกาศยกเลิกกฎหมาย Test Act และโปรโหมดผู้ที่สนับสนุนพระองค์ที่นับถือคาทอลิกให้เข้าไปมีหน้าที่ในรัฐสภา. เจ้าอาวาสแห่ง Canterbury กับบิช็อปอีกเจ็ดคนถูกจับลงอาญา. เกิดความโกลาหนในสังคม. ยิ่งในปี 1688 เมื่อ James Edward Stuart ประสูติ กลายเป็นรัชทายาทสายตรงของ James II จึงยิ่งกระตุ้นให้ชนชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง หันไปเชิญ William of Orange จากเนเธอแลนด์ (พระสวามีของ Mary ลูกสาวของเจมส์กับภรรยาคนที่หนึ่ง) ให้เข้ามาสถาปนาความมั่นคงทางการปกครองและกระชับอำนาจของฝ่ายโปรเตสแตนต์บนเกาะอังกฤษ.  William of Orange ได้ยกพลขึ้นบกที่เมือง Torbay เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 1688 มาพร้อมกองทัพเรือ 463 ลำ กับกองทหารรวมกันอีกสองหมื่นคน เดินทางผ่านตรงสู่กรุงลอนดอนโดยไม่มีผู้ใดกล้าต่อต้าน. เหตุการณ์นี้รู้จักกันในประวัติศาสตร์ว่าเป็น The Glorious Revolution. ถึงกระนั้นก็ยังมีฝ่ายของ James II เช่นตระกูล Churchill และกองหทารสนับสนุนจาก Anne ลูกสาวเจมส์อีกผู้หนึ่งที่ปฏิเสธความร่วมมือกับ William of Orange. Mary ลูกสาวและ William of Orange ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองบัลลังก์อังกฤษแทน (เป็น King William III และ Queen Mary II). สถานการณ์บังคับให้ James II พาภรรยาและลูกชายไปอยู่ที่ฝรั่งเศสในฐานะอาคันตุกะของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14. James II ได้นำกองทัพมาขึ้นที่เกาะไอร์แลนด์ในปี 1689 พร้อมทหารกองหนุนจากฝรั่งเศส พยายามจะสู้ชิงบัลลังก์คืนแต่ต้องพ่ายแพ้กองทัพของ William (ที่เมือง Boyne) ในปี 1690.  James II สิ้นพระชนม์ที่ฝรั่งเศสในปี 1701. ลูกชายคนโต James Francis Edward Stuart (1688-1766, สมญานามในประวัติศาสตร์อังกฤษว่า the Old Pretender ในความหมายของผู้ที่คิดมาเรียกร้องสิทธิ์ความชอบธรรมของการเป็นกษัตริย์) ได้พยายามรวมกองกำลังไปกู้บัลลังก์คืน (1714) แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในที่สุดหยุดคิดหรือติดตามเรื่องนี้.
       ลูกชายของเขา(หลานของ James II) ชื่อ Charles Edward Stuart (1720-1788) แม้จะอายุยังน้อย แต่มีจิตใจฮึกเหิมห้าวหาญและต้องการกู้สิทธิและศักดิ์ศรีของราชตระกูล Stuart อย่างไม่ลดละทำให้มีผู้เข้าร่วมกองทหารฝ่าย Royalists มากขึ้น ได้ตีหัวเมืองเล็กๆในสก็อตแลนด์ได้.
Prince Charles Edward Stuart, ‘Bonnie Prince Charlie’, by William Mosman, 1750.
(Photo by National Galleries Of Scotland/Getty Images)
ขัตติยะมานะของพระองค์ชนะใจชาวสก็อต จากที่ราบสูงทั้งหหมด (Highlanders) ที่เป็นกองกำลังของเจ้าชาย ยังมีชนชาวพื้นเมือง ชาวไอริซ ชาวฝรั่งเศสและชาวอังกฤษมาร่วมรบด้วย. แต่ฝ่ายอังกฤษมีจำนวนพลเกินกำลังของกองทัพของเจ้าชาย. ศึกครั้งสุดท้ายที่เมือง Culloden (ปี 1745-46) เป็นชัยชนะที่เด็ดขาดของกองทัพอังกฤษ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 1746 ผู้คนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
ภาพชัยชนะในสงครามของฝ่ายอังกฤษที่สนามรบที่ Culloden เมื่อวันที่ 16 เมษายน 1746. 
บุคคลบนหลังม้าที่โดดเด่นในภาพนี้คือ William Augustus, the Duke of Cumberland  
ผู้เป็นแม่ทัพของกองกำลังอังกฤษ ที่ยกขึ้นไปสก็อตแลนด์เพื่อสยบพวก Jacobites  
ที่เป็นกองกำลังของเจ้าชาย Charles Edward Stuart.  
นี่เป็นภาพถ่ายของ Hulton Archive (ปรากฏในเพจของ Getty Images)  
จากภาพพิมพ์ ที่เป็นงานแกะสลักของ T. Bakewell. 
แม้จะแพ้ศึก Charles E.S. ผู้ยังหนุ่มแน่นในวัยเพียงยี่สิบ (ชาวสก็อตเรียกพระองค์ว่า Bonnie Prince Charlie จากสำนวนภาษาฝรั่งเศสว่า Le Jeune chavalier ที่แปลว่าอัศวินหนุ่มและใช้เรียกผู้เป็นเจ้าชายตามอุดมการณ์อัศวินยุคกลางว่าเป็นผู้มีคุณธรรมสูง กล้าหาญและสู้ถวายชีวิตเพื่อชาติเป็นต้น) ไม่เคยละทิ้งความหวังที่จะช่วงชิงบัลลังก์คืนมาให้แก่ราชตระกูล Stuart  แต่เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศยุติสงครามต่อกัน (บนดินแดน Flanders เนเธอแลนด์, ปี 1748). อังกฤษได้ขอให้ฝรั่งเศสยุติการสนับสนุนเจ้าชาย Charles E.S. และเจาะจงห้ามเจ้าชายกลับเข้าอังกฤษ.  ฝรั่งเศสจึงไม่สนใจไยดีกับชะตากรรมของ Charles E.S. อีกต่อไป. ความล้มเหลวของราชตระกูล Stuart ในการกู้บัลลังก์ที่แท้จริง มิใช่เรื่องการแพ้รบ แต่เพราะขาดการสนับสนุนทั้งด้านกำลังทรัพย์และกำลังทหารจากราชสำนักฝรั่งเศส ทุกโอกาสทุกช่องทางจึงเหมือนถูกกั้นถูกปิดมิดไว้ภายในอุโมงค์.
      หลังศึกที่เมือง Culloden, ฝ่ายอังกฤษยังส่งคนออกตามล่าชีวิตของพระองค์ เจ้าชายต้องหลบลี้หนีภัยอยู่ห้าเดือน. ไม่มีบันทึกชัดเจนเกี่ยวกับช่วงชีวิตห้าเดือนนี้ เล่ากันว่า พระองค์ทรงปลอมตัวพเนจรไปมา ในคราบของพ่อค้าเรือล่ม  (ดูเหมือนจะใช้ชื่อว่า Mr.Sinclair) และต่อมาปลอมตัวเป็นสาวใช้ผู้ติดตามนาง Flora MacDonald และใช้ชื่อ Betty Burke. Flora พาเจ้าชาย Charles E.S. หนีจากเมือง Uist ไปอยู่บนเกาะชื่อ สกาย (Isle of Skye ชื่อในภาษา Scottish Gaelic). ต่อมาเข้าไปในฝรั่งเศส  เจ้าชายต้องปลอมตัว ย้ายไปอยู่ตามที่ต่างๆในยุโรป. พระองค์มีลูกสาวคนหนึ่งกับ Clementina Willeinshaw แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองสิ้นสุดลงในปี 1760.  เมื่ออายุได้ 45  ปี เจ้าชายเหลือผู้สนับสนุนเพียงไม่กี่คนและถูกตัดออกจากกองมรดกของพระราชบิดา James Francis Edward Stuart ผู้ไม่เคยเห็นดีด้วยกับการที่เจ้าชายมุ่งมั่นอยากชิงบัลลังก์คืนจากอังกฤษ. เมื่อ James F.E.S. สิ้นพระชนม์ในปี 1766 สันตะปาปา Clement XIII ประกาศไม่ยอมรับ Charles E.S. ว่าตำแหน่งกษัตริย์ของอังกฤษ สก็อตแลนด์และไอรแลนด์เป็นของเจ้าชายโดยชอบธรรมตามกฎหมาย.  ในอังกฤษ พระเจ้า George III ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ปี 1760.  กระบวนการกู้บัลลังก์ของเจ้าชายและกระแส Jacobitism จึงสิ้นสุดลง. ( Jacobitism เป็นกระแสชาตินิยมแนวโรแมนติกในสก็อตแลนด์ คำนี้มาจากชื่อ James ที่คือ Jacobus ในภาษาละติน จึงโยงเกี่ยวไปถึงพระเจ้า James II ของอังกฤษในขณะเดียวกันก็คือพระเจ้า James VII ของสก็อตแลนด์. คำนี้ในความหมายกว้างรวมผู้ที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์ Stuart ตรงกับคำสามัญว่า royalist หรือใช้คำว่า Jacobites). Charles E.S. ทรงสมรสกับหญิงสาววัยสิบเก้าในปี 1772 แต่ไม่นานก็บังคับให้นางไปอยู่ในสำนักชี.  ตั้งแต่ปี 1783 ลูกสาวเป็นผู้ดูแลรับใช้พ่อผู้เจ็บป่วย สุขภาพทรุดโทรมลงเรื่อยๆและสิ้นพระชนม์ในปี 1788 (พระชนมายุ 68 ปี).
ข้อมูลบางส่วนนำมาจากหนังสือของ Dr Jacqueline Riding ชื่อ Jacobites : A New History of the ’45 Rebellion (Bloomsbury 2016). นอกเหนือจากเพจต่างๆอีกหลายแหล่งในเน็ต
      ชีวิตตกอับของเจ้าชายหนุ่มผู้คิดกู้บัลลังก์ตามสิทธิ์อันชอบธรรม กินใจชาวบ้าน ชาวเมืองและโดยเฉพาะชาวสก็อตผู้รู้สึกเสมอถึงความไม่ชอบธรรมของชาวอังกฤษ จึงยิ่งทำให้เรื่องนี้แพร่หลายและเล่าแต่งเติมจนกลายเป็นตำนาน. กระแส Jacobitism ดั้งเดิมนั้นก็มิได้เกี่ยวกับชาวสก็อตเท่านั้น  ผู้สนับสนุนเจ้าชาย Charles Edward Stuart ก็ไม่ใช่ชาวสก็อตเท่านั้น แต่ชาวสก็อตจดจำและเห็นใจผู้ถูกรังแกอย่างจริงจังมากกว่าผู้ใดตามธรรมชาตินิสัยของผู้รักเสรีภาพเหนือสิ่งอื่นใด.  

      เรื่องราวตอนที่เจ้าชายต้องหลบๆซ่อนๆเร่ร่อนอยู่ห้าเดือน ต้องปลอมตัวเป็นหญิงรับใช้ของ Flora MacDonald ชื่อ Betty Burke และหลบหนีจากเกาะ Uist ไปยังเกาะ Skye ได้  ปรากฏพูดถึงในเนื้อเพลง Skye Boat Song.  “the lad that’s born to be king” คือเจ้าชาย Charles Edward Stuart. เนื้อเพลงจบด้วยความมุ่งมั่นว่าเขาจะกลับมาอีก มาเพื่อกู้สิ่งที่เขาสูญเสียไป. เพลงนี้ตามโครงสร้างของบทประพันธ์ เป็นเพลงพายเรือภาษาพื้นเมือง (Gaelic) ของชาวสก็อด. เชื่อกันมาว่า ทำนองเพลงน่าจะมาจากเพลงพื้นบ้านที่ชื่อว่า Cuachan nan Craobh หรือที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Cuckoo in the Grove”. ส่วนเนื้อร้องของเพลงที่โยงไปถึงเจ้าชาย Charles Edward Stuart และเหตุการณ์กบฎในปี 1745 นั้น จริงๆแล้ว Sir Harold Edwin Boulton (1859-1935) ชาวอังกฤษเป็นผู้แต่งและพิมพ์ออกเป็นครั้งแรกในปี 1884.  (เขายังเก็บเพลงและพิมพ์เพลงเก่าๆของอังกฤษเพื่ออนุรักษ์ไว้มิให้สูญหาย รวมทั้งถอดเพลงกล่อมเด็กภาษา Welsh เป็นภาษาอังกฤษที่เข้าใจง่ายขึ้นสำหรับทุกคน เช่นเพลง All Through the Night).
       เนื้อเพลงเวอชั่นของ Sir Harold เล่าถึงเจ้าชายหนุ่มน้อยผู้ที่เกิดมาเพื่อเป็นกษัตริย์ ลงเรือข้ามน้ำข้ามทะเล ฝ่าคลื่นลมแรง มุ่งไปยังเมือง สกาย / Skye.  Flora สตรีผู้มาช่วยเจ้าชาย คอยระแวดระวังภัยให้ และดูแลให้เจ้าชายได้นอนพักกายที่เหนื่อยล้า. ในขณะที่ทหารหนุ่มคนอื่นๆ ดาบในมือสู้จนตัวตายในสนามรบที่เมือง Culloden. บ้านช่องพวกเขาถูกเผาทำลาย ทหารผู้จงรักภักดีถ้าไม่ตายก็ต้องหนีออกจากแผ่นดิน. คมดาบของเจ้าชายหนุ่มน้อยเย็นยะเยือกอยู่ในฝัก เก็บไว้เพื่อโอกาสหน้า เจ้าชายจะกลับมาอีกแน่นอน. >>>
[Chorus:]
Speed, bonnie boat, like a bird on the wing,
Onward! the sailors cry;
Carry the lad that's born to be King
Over the sea to
Skye.
Loud the winds howl, loud the waves roar,
Thunderclouds rend the air;
Baffled, our foes stand by the shore,
Follow they will not dare.
[Chorus]
Though the waves leap, soft shall ye sleep,
Ocean's a royal bed.
Rocked in the deep,
Flora will keep
Watch by your weary head.
[Chorus]
Many's the lad fought on that day,
Well the
claymore could wield,
When the night came, silently lay
Dead on
Culloden's field.
[Chorus]
Burned are their homes, exile and death
Scatter the loyal men;
Yet ere the sword cool in the sheath
Charlie will come again.

ฟังคลิปเพลงนี้ได้ที่นี่ >>> https://www.youtube.com/watch?v=n1CTxa-FuKc 

       Robert Louis Stevenson (1850-1894 นักประพันธ์ กวี นักเขียน นักเดินทางชาวสก็อต) ได้แต่งเรื่อง Kidnapped (1886) ที่โยงไปถึงชีวิตและตำนานของเจ้าชาย Charles E.S.หลังการพ่ายแพ้ศึกที่เมือง Culloden. และในปี 1892 ก็ได้แต่งเนื้อร้องของเพลง Skye Boat Song ที่เริ่มด้วย “Sing me a song of a lad that is gone”.
       ในบริบทปัจจุบันคือศตวรรษที่ 21 นี้ มีภาพยนต์ทีวีซีรีส์เรื่อง The Outlander ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2014 มาจนถึงเดือนกรกฎาคมปี 2016  ได้ใช้เนื้อร้องเพลง Skye Boat Song ของ Robert Louis Stevenson เป็นเพลงโหมโรงหรือเพลงโลโก้ของภาพยนตร์ชุดนี้. ทีวีซีรีส์ชุดนี้สร้างจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Diana Gabaldon ที่แต่งตามจินตนาการในแนวของการย้อนกาลเวลาจากศตวรรษที่ 20 กลับไปในอดีตศตวรรษที่ 18  ตัวเอกของเรื่องได้เข้าไปสัมผัสประวัติการต่อสู้ของกลุ่ม Jacobites ในยุคของ Charles Edward Stuart และเพราะเธอเข้าไปในเหตุการณ์จาก อนาคตจึงพยายามเตือนว่า Culloden จะพ่ายแพ้ในที่สุดและจะมีคนตายจำนวนมาก(ตามความเป็นจริงในประวัติศาสตร์)  ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้หญิง ชื่อ Claire ชื่อนี้จึงเหมาะยิ่งกับตัวละครที่ได้ย้อนกลับไปในอดีตและพยายามช่วยแก้เหตุการณ์ในอนาคตที่เธอรู้แจ้งในใจ) …น่าสนุกนะ ซีรีส์นี้!
อาจนับได้ว่าทีวีซีรีส์ชุดนี้ เป็นพยานของการสืบทอดจิตวิญญาณนักสู้และความรักชาติของชาวสก็อต ทั้งยังเป็นหลักฐานความนิยมเพลง Skye Boat Song ที่ได้แพร่หลายไปทั่วโลก จนมาถึงเราในคณะอักษรศาสตร์  
เนื้อเพลง Skye Boat Song เวอชั่นของ R.L.Stevenson มีดังนี้ >>>
Sing me a song of a lad that is gone,
Say, could that lad be I?
Merry of soul he sailed on a day
Over the sea to Skye.
[Chorus:] Speed bonnie boat like a bird on the wing,
Onward, the sailors cry.
Carry the lad that's born to be king
Over the sea to Skye.
Mull was astern, Rùm on the port,
Eigg on the starboard bow;
Glory of youth glowed in his soul;
Where is that glory now?
[Chorus:]
Give me again all that was there,
Give me the sun that shone!
Give me the eyes, give me the soul,
Give me the lad that's gone!
[Chorus]
Billow and breeze, islands and seas,
Mountains of rain and sun,
All that was good, all that was fair,
All that was me is gone.
[Chorus]
Loud the winds howl, loud the waves roar,
Thunderclaps rend the air,
Baffled, our foes stand by the shore,
Follow they will not dare.
[Chorus]
Many's the lad fought on that day,
Well the claymore could wield,
When the night came, silently lay
Dead in Culloden's field.
[Chorus]
Though the waves leap, soft shall ye sleep,
Ocean's a royal bed.
Rock'd in the deep Flora will keep
Watch o'er your weary head.
[Chorus]
Burned are our homes, exile and death,
Scattered the loyal men.
Yet ere the sword cool in the sheath,
Charlie will come again.
[Chorus]

ทำนองเพลงเอื่อยๆเหมือนสายน้ำในทะเลสงบยามเช้า ไม่รีบไม่ร้อน สะเทือนอารมณ์สุนทรีย์  กินใจผู้ฟังที่ปล่อยจินตนาการไปกับชีวิตต่อสู้ของเจ้าชายหนุ่มน้อยที่ชะตาชีวิตทำให้ต้องตกอยู่ในสภาพคนพเนจร หลบลี้หนีภัย แต่ขัตติยวิสัยทำให้ไม่ท้อแท้ต่อความยากลำบากเพื่อทวงสิทธิ์อันชอบธรรมคืน  คำร้องที่ให้จังหวะ สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ ทั้งสัมผัสในและนอก สื่อความหมายได้ชัดเจนและบาดความรู้สึกลึกลงๆ แต่ยังไม่วายแฝงความหวังอันเลือนลางไว้ในประโยคสุดท้าย.

คลิปเพลงที่ใช้ในทีวีซีริส์เรื่อง The Outlander พร้อมคำร้องที่ใช้เป็น theme song ของทีวีซีรีส์ชุดนี้ คำหนุ่มน้อย “lad” เปลี่ยนเป็นสาวน้อย.”lass”. คำร้องมิได้ตรงตามบทประพันธ์ของ Robert Louis Stevenson คิดว่าเพื่อความพอเหมาะพอดีกับการนำเสนอภาพยนตร์ในแต่ละตอน >>

ท่านศาสตราจารย์นพคุณ ทองใหญ ณ อยุธยา ได้ประพันธ์คำร้องใหม่ ที่เล่าขานและถ่ายทอดอุดมการณ์และความรู้สึกในจิตวิญญาณของนิสิตจุฬาฯ ตั้งแต่ปีหนึ่งถึงปีสี่  ท่านตั้งชื่อบทเพลงใหม่นี้ว่า Song of the Classes  และได้สอนให้พวกเรานิสิตปีหนึ่งคณะอักษรศาสตร์รุ่นที่ ๓๕  ให้ขับร้องประสานเสียงตามทำนองเพลง Skye Boat Song นี้. 
ประเด็นหนึ่งของบทประพันธ์นี้ ที่ทำให้เนื้อร้องเพลงนี้โดดเด่น คือการแต่งสร้อยเพลงสองบทที่ไม่ซ้ำกันหรือเหมือนกัน. สร้อยหนึ่งสื่อความตื่นตัวเหมือนต้นจามจุรียามดอกบานสะพรั่งสีชมพูในต้นปีการศึกษา. อีกสร้อยหนึ่งสื่อความคาดหวังความสำเร็จในอนาคต.  การแทรกบทสร้อยในเนื้อเพลงในแต่ละตอนนั้น จึงก้าวตามนิสิตไปในแต่ละปี ตามพัฒนาการของจิตสำนึกของนิสิต
คำร้องของท่านมีดังนี้ >>>
Chorus  1  
Bright as the day that greets us at dawn
over the pink raintree.
Gay as the birds that sing without words
high in the pink raintree.
Freshmen are we
happy and free, 
upward we wend our way. 
Knowledge we seek,
beauty and truth 
guiding our work and play. 
Chorus  2     
Buoyantly we, happy and free,
Dwell in expectancy.
Splendid our futures surely will be,
Thanks to the pink raintree.
The sophomore
knows more and more; 
nothing surprises him. 
He knows the score; 
He’s done it before; 
Freshmen look up to him.                    
Chorus  1  
Bright as the day that greets us at dawn
over the pink raintree.
Gay as the birds that sing without words
high in the pink raintree.
Juniors at ease, 
We study, we tease 
Life is a game so gay.
Playing with zest,
Juniors are blessed;
Nothing can bar our way.
Chorus  2     
Buoyantly we, happy and free,
Dwell in expectancy.
Splendid our futures surely will be,
Thanks to the pink raintree.
Seniors aware
life beckons fair;
Who can our future tell?
Tears in our eyes. 
Joy in our heart,
Now we must say farewell.
Chorus  2     
Buoyantly we, happy and free,
Dwell in expectancy.
Splendid our futures surely will be,
Thanks to the pink raintree.

บันทึกที่มาของเพลง Skye Boat Song
จากเพลงพื้นบ้านของชาวสก็อต  มาเป็นเพลงของนิสิตอักษรจุฬาฯรุ่น ๓๕  
รำลึกถึงท่านศาสตราจารย์นพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
ด้วยความรู้คุณในสิ่งดีๆที่พวกเราได้เรียนจากท่าน

โชติรส โกวิทวัฒนพงศ์ รายงาน ณ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๙.
---------------------------------------------------------
หากฟังเพลงของนักร้องชาวสก็อตในยุคปัจจุบัน จะรู้สึกได้ว่า จิตวิญญาณความเป็นสก็อต มิได้ลดน้อยลงเลย ความคิดที่แฝงไว้ใต้สิ่งที่ตาเห็น มีจิตมั่นคงที่เชื่อว่าแม้ “Those days are past now, And in the past they must remain, But we can still rise now, And be the nation again“ (จากเพลง Flower of Scotland)  
จิตวิญญาณของชาวสก็อตยังคงข้ามศตวรรษมาตรึงใจทุกผู้ทุกนามในปัจจุบัน.
ความคิดพาต่อไปยังดอก Thistle ดอกไม้ประจำชาติของสก็อตแลนด์ ที่แฝงนัยลุ่มลึกกินใจ.
ลองฟังสักเพลงจาก The Corries ชื่อ Loch Lomond ที่นี่ค่ะ >>>

อา… Scotland the Brave !    
ขอคารวะชนชาตินี้

No comments:

Post a Comment