Saturday 31 March 2018

Old wooden bridges in Lucerne

สะพานโลก สะพานธรรม 
เอกลักษณ์พิเศษของสะพานไม้เก่าที่เมืองลูเซิร์น
ประเทศสวิสเซอแลนด์
สะพานสัญลักษณ์ของเมืองลูเซิร์น ในสวิสเซอแลนด์ สะพานหักมุมตรงส่วนที่เป็นอาคารแปดเหลี่ยมที่เรียกกันว่า “หอน้ำ” แต่ไม่เคยใช้เป็นกักเก็บน้ำแต่อย่างไร. เรียกเช่นนั้นเพราะอาคารตั้งอยู่ในน้ำ.
วิหารด้านขวาในภาพคือวิหารเยซูอิต-Jesuitenkirche บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ Reuss สร้างในระหว่างปี 1666-1677. ในปี 1750 ได้บูรณะจิตรกรรมบนเพดานและประดับด้วยหินอ่อนเทียมในสไตล์ของร็อคโกโก. ปัจจุบันยังใช้เป็นที่แสดงคอนเสิร์ทของเมือง มีเครื่องออแกนขนาดใหญ่.
แผนที่เมืองลูเซิร์นในปี 1642. ภาพของ Matthäus Merian (1593-1650) [Public domain], via Wikimedia Commons. เห็นสะพานสองสะพานตรงกลางภาพที่เป็นสะพานลดเลี้ยวเล็กน้อย.
ภาพสะพานต้นฤดูหนาว เห็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแอลป์ ภาพของ Horst Michael Lechner. ระบุกำกับภาพไว้ว่า By Horst Michael Lechner (Own work) CC BY-SA 3.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0)], via Wikimedia Commons.
สะพานไม้ที่เป็นทางเดินใต้หลังคาตามแบบสถาปัตยกรรมยุคกลางที่ประกอบด้วยเสาค้ำและโครงสามเหลี่ยมยึดหลังคาไว้ (strutted and triangulated trusses) เป็นสะพานแบบเก่าที่สุดที่ยังเหลือให้เห็นในโลก สะพานนี้จึงเป็นเอกลักษณ์และหน้าตาของเมืองลูเซิร์น (Luzern / Lucerne) ประเทศสวิสเซอแลนด์. มีชื่อว่า Kapellbrücke ที่แปลตรงตามตัวอักษรว่า chapel bridge หรือ “สะพานวัด” เพราะต้นสะพานอยู่ใกล้ๆวัด มี Hofkirche ที่เป็นวัดและอารามเบเนดิคตินที่เก่าที่สุดในเมือง ติดๆกันก็มีวัดเซ็นต์ปีเตอร์. จารึกเก่าที่สุดที่เหลือมาเกี่ยวกับสะพานนี้ ย้อนกลับไปในปี1367. ในสมัยกลางนั้น เป็นสะพานทางเดินที่ข้ามจากฝั่งทิศใต้ของแม่น้ำ Reuss ตรงมาถึงวัดที่อยู่ฝั่งเหนือที่เป็นเขตเมืองเก่า. สะพานนี้ยาว 204 เมตร. ปัจจุบันเหลือเพียง 174 เมตร เพราะตั้งแต่ปี1834 มีการทำเส้นทางเดินรอบๆทะเลสาบลูเซิร์น (Schweizerhofquai) สะพานจึงถูกตัดให้สั้นลง ปัจจุบันมีถนนตัดผ่านหน้าวัดอารามทั้งสองภาพนี้จากเว็ปที่นี่.
วามพิเศษของสะพานนี้ คือใต้หลังคาเหนือาน มีแผ่นไม้สามเหลี่ยม(ไม้สน-spruce wood boards) ประดับด้วยภาพจิตรกรรม เรียงตั้งแต่ต้นสะพานไปจนสุดปลายสะพาน ที่ทางการนำเข้าไปติดตั้งในวรรษที่17. จิตรกรรมทั้งหมดนี้ (เดิมมี147ภาพ) ทำขึ้นในยุคที่มีการปฏิรูปข้างเคียงของลัทธิแคทอลิก (Counter-Reformation) หลังจากที่ศาสนาคริสต์์แตกแยกออกเป็นแคทอลิกกับโปรเตสแตนต์ (cf.Reformation ที่เริ่มขึ้นในปี1517 กับ Martin Luther). จิตรกรรมบนแผ่นไม้เป็นผลงานของศิลปินท้องถิ่นชื่อ Hans Heinrich Wägmann (1611) ทำได้เพราะได้เงินบริจาคอุดหนุนจากสมาชิกของคณะกรรมการเมือง(members of the city council) โดยที่แต่ละคนช่วยเกื้อหนุนภาพหนึ่งภาพ และให้สิทธิ์แต่ละคนจารึกตราประจำตระกูลของเขาลงในภาพได้. ใต้ภาพยังมีคำอธิบายเนื้อหาเรื่องราวของภาพนั้นๆ. ภาพทั้งหลายบอกเล่าเรื่องราวของเมือง รวมทั้งชีวิตและการตายของนักบุญอุปถัมภ์ของเมืองชื่อ saint Leger และต่อเนื่องไปถึงนักบุญอุปถัมภ์อีกคนหนึ่งชื่อ saint Maurice.
ตัวอย่างภาพจากหน้าบันใต้หลังคาของสะพานวัด เนื้อหาในภาพไม่ชัดเจนว่าเกี่ยวกับอะไร ให้ดูวิธีการติดภาพใต้หลังคา.

สองภาพนี้จากภายในของสะพานวัด เจ้าของภาพคือ MatthiasKabel (Own work), 29 July 2008. ระบุกำกับภาพไว้ว่า CC BY-SA 2.5-2.0-1.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/2.5-2.0-1.0)], via Wikimedia Commons.
   ราวเที่งคืนวันที่ 8 สิงหาคมปี 1993 เกิดไฟไหม้สะพานนี้ เนื่องจากเป็นสะพานไม้ที่เก่าและแห้งมานานหลาร้อปี ทำให้การควบคุมไฟยากมาก. สองในสามของสะพานถูกทำลายไป เหลือเสาทั้งหลายที่ยังคงยืนหยัด <ขาแช่น้ำสู้ไฟ>. การวิเคราะห์เหตุการณ์ ค้นพบว่า น่าจะเกิดจากก้นบุหรี่ที่คนทิ้งไว้บนสะพาน. ้เวลาดับไฟถึงสิบกว่าชั่วโมง. หลังอัคคีภัยครั้งนี้ มีการรากฎหมาใหม่ห้ามจอดเรือใต้สะพานด้วยและวบคุมการเข้าออกสะพานและวามประพฤติของนบนสะพานอย่างเข้มงวด. ศักยภาพของการบริหารจัดการของเมืองลูเซิร์นนั้น เห็นชัดเจนว่าสุดอดเพียงใด. ภาในเวลาเพีงหนึ่งปี การบูรณปฏิสังขรณ์สะพานนี้เสร็จสิ้นลง เปิดตัวใหม่ สว งามสง่าเหมือนเดิม. ยังนำแผ่นไม้ที่มีจิรกรรมเก่าที่ถูกไหม้ยังไม่หมด ติดให้เห็นอีกสองสามแผ่น เพื่อเตือนใจคนให้ช่วยกันดูแลอนุรักษ์สะพานประวัติศาสตร์นี้ให้งอยู่ไปชั่วลูกชั่วหลาน.
   จนถึงปีที่เกิดไฟไหม้สะพาน มีภาพจิรกรรมทั้งหมด147 ภาพ. สองในสามของภาพทั้งหมดถูกไฟเผาทำลายสูญสิ้นไป. กู้ภาพออกมาจากไฟ ได้ทั้งหมด 47 ภาพ แต่เพียง 30 ภาพเท่านั้นที่บูรณะซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้. มีการนำภาพอื่นๆที่ทางการเมืองลูเซิร์นเก็บรักษาไว้ตั้งแต่ปี1834 มาแทนที่ภาพที่ถูกไฟไหม้เสียหาย.
   ในระหว่างเทศกาลคาร์นาวัล (ปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์) ภาพเก่าๆจะถูกเอาออก แล้วติดภาพยุคใหม่เนื้อหาคาร์นาวัลเข้าไปแทนที่. เทศกาลนี้จึงเปิดโอกาสให้ศิลปินยุคใหม่นำผลงานของพวกเขาออกแสดงใต้หลังคาสะพานวัดนี้. การทำอย่างนี้ มีส่วนช่วยอนุรักษ์จิตรกรรมเดิมๆไว้ด้วย เพราะในช่วงเทศกาลนี้ มักมีคนมือบอนนำสีหรือวัสดุอื่นๆเข้าไปแต่งแต้มภาพใต้สะพานเหล่านั้น เพื่อความสนุกกึ่งไร้สำนึกแบบคนยุคใหม่ที่ชอบโปะ แปะ แต้มอะไรส่วนตัวเข้าไปในสิ่งที่เป็นสาธารณะ ที่ยากจะควบคุมได้  จนเมื่อจบเทศกาลแล้ว จึงนำภาพแบบเก่าๆออกติดดังเดิม. ดังนั้นหากสนใจดูภาพแบบเก่าๆของสะพานนี้ ต้องไปดูในช่วงเวลาอื่น ที่ไม่ใช่ระหว่างเทศกาลคาร์นาวัล. นี่เป็นคำแนะนำขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำเมืองลูเซิร์น.
   ส่วนอาคารแปดเหลี่ยมเหมือนป้อมบนน้ำ คือหอน้ำ (Wasserturm/Water Tower เรียกชื่ออย่างนี้เพราะมันตั้งอยู่ในน้ำ, ในความเป็นจริง ไม่เคยใช้เก็บกักน้ำเลย) หอน้ำสูง 43 เมตร (ข้อมูลขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งเมืองลูเซิร์น). สร้างขึ้นในราวทศวรรษที่ 1300 ให้เป็นส่วนหนึ่ง(เชิงยุทธศาสตร์)ของกำแพงเมืองด้วย. หอนี้ชั้นล่างเคยใช้เป็นที่กักกันนักโทษ ห้องทรมานนักโทษ, ส่วนชั้นบน เป็นที่เก็บเอกสารและจารึกของเมืองรวมทั้งของมีค่าต่างๆ. ปัจจุบันชั้นกลางของอาคารน้ำนี้ใช้เป็นสำนักใหญ่ของสมาคมกองพันทหารปืนใหญ่ (Lucerne Artillery Association) และยังเป็นที่อนุรักษ์นกพันธุ์หนึ่งสีขาวดำหน้าตาคล้ายนกนางแอ่น เป็นนกในแถบเขาสูง (ชื่อ swift) ที่มายึดใต้หลังคาของอาคารน้ำนี้เป็นที่พักพิงหลายสิบปีแล้ว. พอฤดูหนาว พวกมันบินไปหาความอบอุ่นในแดนแอฟริกา และกลับมาเมื่ออากาศในสวิสเซอแลนด์อบอุ่นขึ้น มันจึงเป็นนาฬิกาบอกเวลาว่าฤดูใบไม้ผลิมาถึงแล้ว เพราะมันกลับมาอยู่ใต้หลังคาอาคารน้ำนี้ทุกปี(ตัวเดิมหรือเปล่า หรือลูกๆของมัน มิได้ติดใจอยากรู้).

    ยังมีสะพานเก่าอีกแห่งหนึ่งในเมืองลูเซิร์น ชื่อสะพาน Spreuer [สฺพรอยเออ] อยู่ที่นั่นมาแล้วตั้งแต่ศตวรรษที่13 เชื่อมแถบโรงสีข้าว(Mühlenplatz) ที่อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำ Reuss กับโรงสีอื่นๆที่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำ. ส่วนต่อของสะพานไปจนถึงฝั่งซ้ายของแม่น้ำ Reuss นั้นแล้วเสร็จในปี 1408. ทำไมไปตั้งโรงสีข้าวกลางแม่น้ำ? เพราะว่าสะพานนั้นเป็นสะพานเดียวที่ทางการอนุญาตให้ทิ้งแกลบและฝักข้าว(Spreu จึงมาเป็นชื่อสะพานว่า Spreuerbrücke) ลงในแม่น้ำ Reuss เนื่องจากสะพานนี้ตั้งอยู่ไกลสุดทางกระแสน้ำ. ถูกทำลายไปในพายุปี 1566 แล้วสร้างขึ้นใหม่อีกในปี 1568 ทั้งยังได้เพิ่มยุ้งฉางข้าว(Herrenkeller)ที่หัวสะพานอีกด้วยในเวลาต่อมา.




ภาพสะพาน Spreuerbrücke เมืองลูเซิร์น ประเทศสวิสเซอแลนด์ เครดิตภาพระบุไว้ดังนี้ By Delsener (Own work), 3 May 2007. [CC BY 3.0 (http://creativecommons.org/licenses/by/3.0)], via Wikimedia Commons.

    ในราวปี1616 ถึงปี1637 Kaspar Meglinger ได้เพิ่มภาพวาดบนแผ่นไม้ 67 ภาพ เข้าไปประดับบนหน้าบันสามเหลี่ยมใต้หลังคาสะพาน เป็นภาพชุด“เริงระบำกับความตาย”(Danse macabre หลักฐานเก่าที่สุดชี้บอกว่าขนบนี้เริ่มขึ้นฝรั่งเศส จึงรู้จักกันในชื่อนี้ และใช้คำว่า Totentanz ในภาษาเยอรมัน). ในจำนวน 67 ภาพที่เคยมีนั้น ยังเหลือให้เห็นอีก 45 ในปัจจุบัน. ภาพส่วนใหญ่มีตราประจำตระกูลของผู้บริจาคอุดหนุนภาพแต่ละภาพอยู่มุมซ้าย ส่วนมุมขวามีตราประจำตระกูลของภรรยาผู้บริจาคด้วย. ตอนล่างของแผ่นไม้สามเหลี่ยมที่เป็นกรอบสีดำ จารึกข้อความอธิบายภาพว่าใครตาย คร่ำครวญอะไรก่อนตาย และชื่อของผู้บริจาค. บางภาพรวมภาพผู้บริจาคเข้าไปด้วยหรือคนใหญ่คนโตตัวแทนสังคมเมืองลูเซิร์นยุคนั้น.

ตัวอย่างภาพทั้งสามข้างล่างนี้ มาจากเว็ปไซต์นี้ >> http://lucerne.all-about-switzerland.info/lucerne-spreuerbridge-dance-death.html

ตัวอย่างภาพนี้ การเริงระบำของโครงกระดูก ดีดสีตีเป่าไปกับดนตรีแห่งความตาย.

ทุกคนเสมอภาคกันในความตาย คนรวยก็หนีความตายไม่พ้น

เธอผู้นี้ตาย ยังสาวยังสวย

การประกอบภาพนั้น ความตายเป็นโครงกระดูกเต็มตัว เป็น“ผู้เกี่ยวชีวิต”(The Reaper) ดึงทุกคนให้เต้นรำกับเขา นั่นคือตายเหมือนเขา. ไม่ว่าแก่หรือหนุ่ม เป็นนักบวชหรือฆารวาส คนรวยหรือคนจน ตายเหมือนกัน. ภาพวาดแบบนี้มักประดับกำแพงสุสาน. สื่อความรู้สึกของคนเบื้องหน้าความตาย โดยเฉพาะในยุคกลางที่มีโรคร้ายระบาดบ่อยๆ(ที่เรียกกันว่า โรคดำมรณะ หรือ The Black Death). ภาพเริงระบำกับความตายในยุคก่อนๆ  เลือนลางหายไป เหลือมาให้เห็นน้อยมาก. แต่ความหมกมุ่นกับความตายมิได้หายไปไหน ยังคงซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนเสมอ. ภาพและบทกลอนกำกับ เป็นมรณานุสติแก่ทุกคนว่า ความตายตั้งอยู่ในทุกแห่งหน บนดินหรือบนทะเล.

เรื่อง เริงระบำกับความตาย ได้ชื่อว่าเป็นเนื้อหาศิลปะที่สมบูรณ์แบบที่สุดของยุคกลางที่สืบทอดมาถึงศตวรรษที่ 16. เนื้อหาเล่าถึงความตาย(ในร่างของโครงกระดูกเต็มตัว)ที่มาจับคนจากทุกชนชั้น จัดเป็นคู่ๆ จูงมือเต้นรำ เรียงกันเป็นแถวยาวไปสู่หลุมศพ เหมือนการจับคู่เต้นรำเป็นวงในงานรื่นเริงประจำหมู่บ้าน. เหนือหรือใต้ภาพคู่เต้นแต่ละคู่ มีบทกลอนจารึกไว้บุคคลตัวอย่างและตัวแทนของมนุษยชาติที่มักปรากฏในบริบทของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ สันตะปาปา, จักรพรรดิ, กษัตริย์, อัศวิน, แพทย์, พ่อค้า, นายหน้า, โจร, ชาวนาหรือแม้แต่เด็กเล็กที่ยังไร้เดียงสา เพื่อให้ได้ครบตัวแทนของชนแต่ละชั้น แต่ละอาชีพ แต่ละวัย.
ความตายจับคู่กับคนเป็นหนึ่งคน เขาเจรจาต่อรองกับความตายอ้อนวอนให้ปล่อยตนด้วยความสำนึกผิดและสิ้นหวัง หรือขอความเห็นใจจากความตายเป็นต้นแต่ความตายไม่ปรานี กล่าวโทษกระทบกระแทก เย้ยหยันหรือดูหมิ่นดูแคลนคน แล้วก็ดึงทุกคนเข้าไปสู่วงรำมรณะบทสนทนาระหว่างคนเป็นคนตายแต่ละคู่ เน้นความลุ่มหลงของคนที่วนเวียนอยู่ในยศถาบันดาศักดิ์ ที่มิอาจช่วยให้เขาพ้นความตายได้ย้ำว่าทุกคนเสมอภาคกันเบื้องหน้าความตายบทสนทนาทั้งหมดรวมกันเป็นเนื้อหาของเรื่องเริงระบำกับความตาย.  บาทหลวงได้ใช้เรื่องนี้เทศน์สั่งสอนชาวคริสต์กลุ่มนักบวชขอทาน (ที่นักบุญฟรานซิสแห่งเมืองอัสซีสิ -Francesco di Assisi เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 13) ที่ออกเดินเท้าเผยแพร่คำสอนไปทั่วยุโรป มีส่วนนำวรรณกรรมนี้กระจายออกไปทั่วคริสตจักร. เนื่องจากเป็นบทสนทนาจึงถูกนำไปจัดเป็นบทละคร แสดงการโต้ตอบเป็นคู่ๆระหว่างความตายกับบุคคลจากชนชั้นต่างๆที่เรียงกันไปตามลำดับจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นต่ำ.
    คำกลอนเรื่องนี้แพร่กระจายไปทั่วทั้งยุโรปกับคณะละครสัญจร. ความนิยมดังกล่าวมาจากการสำเหนียกและการใคร่ครวญเกี่ยวกับชีวิตและความตาย โดยเฉพาะในยุคที่ความตายคอยหลอกหลอนอยู่ทุกมุมเมือง. เป็นยุคของสงครามร้อยปี ความอดอยากและโรคระบาด. ในภาพเฟรสโก้บางแห่ง ความตายถือเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งในมือ โยงนัยของการยั่วยวน ของดนตรีที่มีอำนาจทำให้คนเคลิบเคลิ้มหลงใหล เหมือนเสียงเพลงของเหล่าปีศาจทะเลครึ่งคนครึ่งนก (siren) ในวรรณกรรมกรีกเรื่อง ออดิสซี (Odyssey) เป็นต้น.
    เชื่อกันว่าต้นกำเนิดของเรื่องนี้ มาจากคัมภีร์เล่ม Maccabees [แมคคะบีซ] ที่เล่าประวัติการสถาปนารัฐอิสระจูดา และเรื่องของชาวยิวที่ถูกกดขี่ข่มเหง, ถูกบังคับให้กระทำในสิ่งที่ขัดกับความเชื่อของชาวยิว เช่นเรื่องของนักบวชผู้สอนศาสนาชาวยิว (Eleazar ใน 2 Maccabees 6:18) ผู้ถูกบังคับให้กินเนื้อหมู แต่เขาคายทิ้งทุกครั้ง ในที่สุดจึงถูกเฆี่ยนโบยจนตาย. และเรื่องของแม่กับลูกชายเจ็ดคนที่ยืนยันไม่ยอมกินเนื้อหมูแม้จะถูกบังคับทรมานจนสิ้นชีวิตไปทั้งครอบครัว(2 Maccabees 6:18-7:42)  ก่อนตายแต่ละคนเอ่ยวาจายืนยันความเชื่อในพระเจ้าและไม่หวั่นไหวกับความตายที่รออยู่ตรงหน้า. เรื่องเล่าทั้งสองในคัมภีร์ ได้จับจินตนาการของชาวคริสต์ในยุคกลาง และบาทหลวงในยุคนั้นก็นำไปเทศน์ในวัดเรื่องนี้จึงเป็นต้นแบบของการยอมตายโดยไม่ยอมทำสิ่งที่ขัดกับความเชื่อของตน (martyrdom) และอาจเป็นที่มาของคำ macabre ในชื่อ Danse Macabre ที่แปลตามตัวได้ว่า ระบำสยองขวัญ เราเลือกใช้ เริงระบำกับความตาย เพราะตรงกับเนื้อหาที่เห็นได้จากภาพและจากบทพรรณนา. แต่นักวิจัยบางคนกลับอ้างว่า คำ macabre มาจากคำอาหรับ makabir หรือ maqabir ที่แปลว่า หลุมศพ หรือ สุสาน. เรื่อง เริงระบำกับความตาย จึงอาจมาจากวัฒนธรรมอาหรับ. ในที่สุดต้นกำเนิดของเรื่องนี้จึงยังไม่ชัดเจน.
    ภาพชุดเริงระบำกับความตายที่เก่าที่สุด คือที่วาดประดับบนผนังกำแพงวัดอีโนซ็องส์ที่ปารีส (Cimetière des Innocents, 1424 สุสานนี้ถูกทำลายไปแล้วตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19) มีผู้ถ่ายทอดไว้ในหนังสือที่พิมพ์ออกสู่ตลาดในปี 1485 และเชื่อกันว่า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการนำภาพเฟรสโก้เนื้อหานี้ ประดับผนังกำแพงวัดและสุสานในประเทศยุโรปอื่นๆเป็นจำนวนไม่น้อยในยุโรปตอนเหนือ. 
    วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นบทเตือนสติสำหรับผู้มีอำนาจในมือ, เป็นเสียงเรียกให้ทุกคนอยู่ในศีลธรรมและมีความรับผิดชอบ ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งปลอบใจสำหรับผู้ยากไร้ว่า เบื้องหน้าเขามีความตายที่จักเกลี่ยและกลบความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในสังคมให้หมดไปในที่สุด. แต่เนื้อหาพื้นฐานที่แท้จริง สั้นและเด็ดขาด คือไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า หรือ วันหนึ่งแกก็ต้องตาย.
ตัวอย่างภาพชุดเริงระบำกับความตายจากที่อื่นๆ >>
ชุดเริงระบำกับความตายที่เห็นนี้ปรากฏในเอกสารเชิญชวนการประดับกำแพงวัดเซ็นต์แมรีที่เมืองลิวเบ็ค Lübeck (Germany) ในปี 1842. ภาพวาดนี้ลอกมาจากผลงานของ Anton Wortmann ในปี 1701. ภาพที่นำมาลงนี้กำกับว่าเป็นงานของ Ottoerich (Self-photographed) [Public domain], via Wikimedia Commons.
ตัดภาพลงสีของ เริงระบำกับความตาย มาบางส่วนที่ประดับผนังกำแพงวัดเซ็นต์แมรี (ที่เมือง ลิวเบ็ค – Lübeck ในเยอรมนีมีบทกลอนภาษาเยอรมันประดับควบคู่กันไป. เนื้อหาเป็นบทสนทนาระหว่าง คนเป็นที่ยังมีชีวิตและนุ่งห่มเสื้อผ้าที่บอกว่าแต่ละคนมาจากชนชั้นใด มียศถาบรรดาศักดิ์อะไรบ้างเป็นต้น กับ ความตายในร่างของโครงกระดูกทั้งตัว มีผ้าขาว(ผ้าห่อศพ)คลุมไว้อย่างหลวมๆ.  ความตายเป็นผู้ลากและจับคนแต่ละคนให้เข้าร่วมวงรำไปสู่หลุมศพ. ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ สันตะปาปา เจ้านาย หญิงผู้ดี สามัญชนหรือเด็กทารก (ภาพจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
ส่วนภาพนี้กำกับข้อมูลไว้ว่า Danse Macabre ที่เมือง Tallinn. เป็นภาพที่ขึ้นทะเบียบมรดกวัฒนธรรมของเอสโตเนีย (Estonia) หมายเลข 1255. อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Art Museum of Estonia. เครดิตภาพของ Bernt Notke [Public domain], via Wikimedia Commons.

ภาพชุดเริงระบำกับความตายหรือ Totentanz ที่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐ Museum der Stadt เมือง Füssen ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์นี้เคยเป็นสำนักอารามนักบวชคณะเบเนดิคติน Benediktinerkloster St. Mang  (มีพื้นที่กว้างขวางมาก มีห้องโถงยาวเหยียดแสดงเครื่องดนตรีประเภทต่างๆจำนวนมากตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ห้องแสดงกระบวนการประดิษฐ์เครื่องดนตรีบางชนิดเช่น violin, violas, cello และโดยเฉพาะออแกน พร้อมคำอธิบายอย่างละเอียดลออ. สุดยอดของแหล่งบริการความรู้)
ภาพชุดนี้เป็นผลงานของจิตรกร Jakob Hiebeler จากเมือง Obergünzburg ปี1602 เป็นภาพชุดที่เก่าที่สุดของแคว้น Bavaria. ประกอบด้วยภาพวาดบนแผ่นไม้สนสิบแผ่น ทั้งหมด 20 ภาพ. ในแต่ละภาพ ความตายจูง(ลาก)คนเป็นหนึ่งคน จึงมีตัวแทนคนยี่สิบแบบ มีสันตะปาปาและจักรพรรดิเป็นสองคนแรก. ทุกภาพสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับคำขวัญที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า  „Sagt Ja Sagt Nein, Getanzt Muess sein“ ความว่า “ไม่ว่าคุณจะตกลงหรือไม่ เราแต่ละคนต้องเต้นไป”. ภาพยังสะท้อนถึงความหวาดระแวงในภัยจากโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นบนดินแดนลุ่มแม่น้ำ Lech ตรงนั้นในปี 1590 ที่ยังผลให้ชาวเมืองล้มตายไปมากหรืออพยพหนีออกไปจากแถบนั้น.
   พิพิธภัณฑ์ได้ทำคำอธิบาย ถอดใจความบทกลอนที่ประกอบแต่ละภาพในภาษาเก่า เรียบเรียงเป็นภาษาเยอรมันปัจจุบันเพื่อความเข้าใจของคนยุคนี้  รวมทั้งสรุปย่อๆเป็นภาษาอังกฤษให้ด้วย. เป็นเอกสารที่ผู้สนใจหยิบอ่านได้ในห้องนั้น (St. Anna Chapel) ที่เคยเป็นที่ประกอบพิธีศาสนามาก่อน มีแท่นบูชา และตัวอย่างหินจำหลักประดับสุสาน. ในปี 1852 Kaspar Schradler ได้บูรณะซ่อมแซมภาพทั้งหมดเพื่อรักษาภาพให้คงอยู่และชัดเจน รวมทั้งเพิ่มตัวอักษรที่เลือนหายไปกับกาลเวลาด้วย. ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (คือระหว่างปี1938-1942) และต่อมาในปี 1995 ก็มีการฟื้นฟูซ่อมแซมภาพชุดนี้ด้วยความระมัดระวังยิ่ง เพื่อให้มันคงอยู่เป็นมรดกของชาติต่อไป. ภาพเริงระบำกับความตายชุดนี้จึงน่าจะเป็นภาพชุดที่สมบูรณ์ที่สุด ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ >>
หญิงผู้ดียังถือกระจกส่องหน้าในมือ ถูกความตายลากไป
ศรษฐีหลังงานเลี้ยงที่จะเป็นมื้อสุดท้ายของเขา
โครงกระดูกหนึ่งยังสีไวโอลินไม่จบเพลง ความตายมาดึงเขาไปแล้ว
ความตายถือนาฬิกาทรายในมือ ได้เวลาที่สันตะปาปาต้องไปแล้ว
พระราชาพร้อมพระขรรค์ในมือและลูกโลกสัญลักษณ์ของอำนาจที่พระองค์เคยมีในมือ ถูกความตายจูงไป
ความตายมาเยือนหมอผู้กำลังตรวจปัสสาวะของคนไข้
ความตายก็ตามมาที่พ่อค้าผู้เพิ่งขายกำลังสินค้าได้เงินมาเต็มถุง
ความตายมาพรากหนุ่มคนรักและกำลังนำหญิงสาวไปเช่นกัน
ความตายก็มาพรากทารกแรกเกิด
    ชาวยุโรปคุ้นเคยกับภาพโครงกระดูกสัญลักษณ์ของความตาย ที่ปะปนเข้าไปในศิลปะเกือบทุกแขนงของพวกเขามาแต่โบราณ อย่างน้อยก็ตั้งแต่ยุคกลาง. เมื่อสืบสาวต่อไปในวรรณกรรมเก่าๆ การเสนอเนื้อหาเชิงมรณานุสติ มีเสมอมาตั้งแต่ในคัมภีร์เก่าต่อมาในคัมภีร์ใหม่ คัมภีร์เรื่องอโปกาลิปส์ก็เช่นกัน ทั้งหมดแทรกไว้เหมือนบทสั่งสอน บทเตือนจากพระผู้เป็นเจ้า ให้คนเข้าใจว่ามีการตายดี(ไปสวรรค์)กับการตายไม่ดี(ลงนรก)ความสำนึกและตระหนักรู้ในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป จึงมีอยู่ในจิตใต้สำนึกเสมอ. การใช้โครงกระดูกมาเป็นสิ่งประดับในบริบทชีวิตประจำวันเพื่อเตือนใจเพื่อกระตุ้นให้ตรึกตรองหรือดลใจให้สร้างสรรค์งานศิลป์ ทั้งด้านวรรณกรรมดนตรีประติมากรรม หรือเพื่อการเรียนรู้สรีรศาสตร์ของคนเป็นต้น ความกลัวตายได้ค่อยๆเบนไปสู่ความสนใจเกี่ยวกับความตายและการตายมากขึ้นๆไปสู่การใฝ่รู้ใฝ่ตรองหาปรัชญาและเจาะลึกไปถึงแก่นแท้ของชีวิต ในขณะเดียวกันก็ยังหล่อเลี้ยงความใฝ่ฝันที่จะมีชีวิตนิรันดร์ จะด้วยความเชื่อศรัทธาในศาสนา หรือด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถหยุดกาลเวลาและหยุดความเสื่อมโทรมเน่าเปื่อยของเซลล์ชีวิต.
      คนได้อาศัยความตายมาเป็นเครื่องมือในการสร้างระบบศีลธรรมจริยธรรมพัฒนาวัฒนธรรมและสร้างระบบสังคมที่ยุติธรรมมากขึ้น ที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาตั้งแต่โบราณกาลความตายเคยเป็นสิ่งเตือนใจและเป็นบทเรียนสำหรับผู้ที่อยากมีชีวิตที่ดีและมีความสุข.
    ตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่20 ความตายกลายเป็นเนื้อหาที่คนสนใจกันเป็นพิเศษ. เป็นเนื้อหายอดนิยมของสื่อแบบต่างๆ. ภาพยนตร์เสนอฆาตรกรรมแบบต่างๆ ให้รายละเอียดทุกมุมมอง, สร้างและฝึกความละเอียดในการแก้ปัญหา ในขณะเดียวกันก็อาจกระตุ้นความอยากทดลองฆาตรกรรมวิธีใหม่ๆ. เป็นหนึ่งในข่าวประจำบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่ป้อนความอยากรู้อยากเห็น เช่นใครตาย, เพราะอะไร, อย่างไร, เมื่อไรเป็นต้น. สื่อเสนอข้อมูลอย่างละเอียดลออทั้งภาพทั้งรายงาน, โทรทัศน์ยังตามไปสัมภาษณ์ญาติของผู้ตาย แม้กระทั่งผู้ใกล้ตายก็ไม่เว้น. หนังสงครามและหนังอาชญากรรมแก้แค้นแบบต่างๆ ที่สรรเสริญชัยชนะและเทคนิคการต่อสู้ โดยปริยายยกระดับการฆ่าขึ้นเป็นวีรกรรม. สงครามทั้งในจอและนอกจอ ความตายและความทุกข์ของมวลชนในชีวิตประจำวันของชนหลายชาติในมุมต่างๆของโลก ทำให้นึกถึงการตายแบบต่างๆในอาโปกาลิปส์. คนได้ยินได้เห็นจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาๆที่ดูเหมือนไม่ทำให้ใจหดหู่อีกต่อไปแล้ว. วรรณกรรมผีก็พัฒนาขึ้น และโดยเฉพาะนำมาทำเป็นภาพยนตร์ออกสู่ตลาดและติดตลาดนานมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว. ดูเหมือนว่าความนิยมมิได้ลดลงเลย. ภาพลักษณ์ของความตาย ค่อยๆเปลี่ยนจากร่างโครงกระดูก สู่ร่างของปีศาจหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว กึ่งสัตว์กึ่งยักษ์ที่สูงใหญ่ล่ำสันและโมโหร้าย แล้วมาเป็นร่างแบบหุ่นยนตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นๆ.
    ปัจจุบัน ความตายกลายเป็นเนื้อหาที่คนสนใจกันเป็นพิเศษ. ความตายได้กลายเป็นแกนกลางของการศึกษาวิจัยทุกแขนง. เป็นหนึ่งในข่าวประจำบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่ป้อนความอยากรู้อยากเห็น เช่นใครตาย, เพราะอะไร, อย่างไร, เมื่อไรเป็นต้น. สื่อเสนอข้อมูลอย่างละเอียดลออทั้งภาพทั้งรายงาน, โทรทัศน์ยังตามไปสัมภาษณ์ญาติของผู้ตาย แม้กระทั่งผู้ใกล้ตายก็ไม่เว้น. ความตายได้กลายเป็นเนื้อหายอดนิยมของสื่อแบบต่างๆ. ภาพยนตร์เสนอฆาตรกรรมแบบต่างๆ ให้รายละเอียดทุกมุมมอง, สร้างและฝึกความละเอียดในการแก้ปัญหา ในขณะเดียวกันก็อาจกระตุ้นความอยากทดลองฆาตรกรรมวิธีใหม่ๆ. หนังสงครามและหนังอาชญากรรมแก้แค้นแบบต่างๆ ที่สรรเสริญชัยชนะและเทคนิคการต่อสู้โดยปริยายยกระดับการฆ่าขึ้นเป็นวีรกรรม. สงครามทั้งในจอและนอกจอ ความตายและความทุกข์ของมวลชนในชีวิตประจำวันของชนหลายชาติในมุมต่างๆของโลก ทำให้นึกถึงการตายแบบต่างๆในอาโปกาลิปส์. คนได้ยินได้เห็นจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาๆที่ดูเหมือนไม่ทำให้ใจหดหู่อีกต่อไปแล้ว. วรรณกรรมผีก็พัฒนาขึ้น และโดยเฉพาะนำมาทำเป็นภาพยนตร์ออกสู่ตลาดและติดตลาดนานมากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว. ดูเหมือนว่าความนิยมมิได้ลดลงเลย. ภาพลักษณ์ของความตาย ค่อยๆเปลี่ยนจากร่างโครงกระดูก สู่ร่างของปีศาจหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว กึ่งสัตว์กึ่งยักษ์ที่สูงใหญ่ล่ำสันและโมโหร้าย แล้วมาเป็นร่างแบบหุ่นยนตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นๆ.
    กล่าวได้ว่าตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ยี่สิบเป็นต้นมา มนุษย์ชาชินกับเรื่องตายและสนุกกับเรื่องผีหรืออมุษย์แบบต่างๆ. อีกทั้งยังแนะให้คิดว่า คนได้ใช้รูปลักษณ์ของความตาย(โครงกระดูก) เป็นเครื่องอำพรางก่ออาชญากรรม และได้เพิ่มนัยของความโหดร้าย, ความเลวแบบต่างๆเข้าไปในความคิดเรื่องความตาย จนเกือบจะเป็นสมการไปแล้วว่า ความตายคือความชั่วแบบต่างๆ ซึ่งหากพิจารณาความคิดเรื่องความตายที่สืบทอดมาแต่โบราณนั้น ความตายมาคร่าชีวิตตามวาระ ทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์และกระทำต่อทุกคนอย่างเสมอภาคกัน. ความตายไม่ใช่ความชั่ว เป็นคนละเรื่องกัน. ความชั่วของคน คนก่อขึ้นเองมิใช่หรือ ที่ได้เข้าสิงในภาพลักษณ์ของความตายและสร้างความหวาดหวั่นสยองขวัญแนวใหม่แก่คนในยุคปัจจุบัน. หัวกะโหลกปรากฏเป็นแบบประดับแบบหนึ่งที่หลายคนชื่นชอบ, เป็นภาพประดับบนเสื้อผ้า, เป็นพวงกุญแจหรือสร้อยคอ, เป็นโปสเตอร์ปิดฝาผนัง เป็นต้น. มรณานุสตินั้นพัฒนาตามไปด้วยหรือไม่ ยังต้องคอยดูกันต่อไป. 

บันทึกเดินทางของโชติรส โกวิทวัฒนพงศ์.
วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๑.

No comments:

Post a Comment