Thursday, 14 January 2016

มองเมฆ I wander lonely as a cloud

I wander lonely as a cloud
มองเมฆ เข้าใจเมฆ
ชื่อเมฆมาจากไหนนะ ?  Richard Hamblyn เจ้าของคลิปวีดีโอนี้ ทำขึ้นเพื่อช่วยความเข้าใจเรื่องเมฆแก่คนทั่วๆไป.  เขาเป็นสมาชิกหมายเลข 0813 ของสมาคม The Cloud Appreciation Society แห่งกรุงลอนดอน. เขาได้สร้างวีดีโอบทเรียนนี้ให้แก่ TED Ed เกี่ยวกับวิธีการตั้งชื่อเมฆ. วีดีโอนี้จึงเล่าเรื่องราวของเภสัชกรชาวลอนดอนคนหนึ่ง ผู้เป็นคนรักเมฆมากๆด้วย เขาชื่อว่า Luke Howard. ในปี1802 Luke Howard ได้เสนอวิธีการจัดแยกประเภทเมฆด้วยการใช้ภาษาละตินตั้งชื่อเมฆในแบบเดียวกับที่นักวิทญาศาสตร์ใช้ภาษาละตินตั้งชื่อและแบ่งแยกพืชพันธุ์และสัตว์. เขาเป็นผู้ประพันธ์หนังสือชื่อ Fantastic Biography of Luke Howard. เขาจึงเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับปู่ของปู่ของผู้ที่รักการดูเมฆ. 
      การศึกษาเมฆ มักถูกมองว่าเป็นศาสตร์ของคนชอบฝันกลางวัน (daydreamer’s science).  แต่ศาสตร์นี้ได้อุบัติขึ้นจริง จากชายหนุ่มช่างคิดคนหนึ่ง ผู้ชอบจ้องมองท้องฟ้าจากทางหน้าต่างในห้องเรียน . Richard Hamblyn  เล่าเรื่องของ Luke Howard  ผู้เป็นคนจัดแยกกลุ่มเมฆแบบต่างๆ และเขาคนนี้แหละที่ได้พลิกความเข้าใจของมนุษยชาติเกี่ยวกับเมฆที่ดูลึกลับผันแปรตลอดเวลา.
การตั้งชื่อเมฆ
ในเย็นวันหนาวเหน็บเดือนธันวาคม ปี 1802 ชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ Luke Howard [ลุก เฮาเหวิด] ออกไปยืนเคอะเขินอยู่หน้าสภานักวิทยาศาสตร์แห่งลอนดอน ผู้เชิญเขาไปบรรยายเรื่องเมฆ.  คำบรรยายวันนั้นจะเปลี่ยนชีวิตเขา ทั้งยังจะเปลี่ยนความเข้าใจของมนุษยชาติเกี่ยวกับท้องฟ้า.   Luke Howard  เป็นเภสัชกรตามอาชีพ แต่เป็นนักอุตุนิยมวิทยาเรื่องเมฆ ด้วยใจรัก (nephology).  เขาสนใจเมฆมาตั้งแต่เด็ก เมฆเข้าครอบงำจิตใจเขาตลอดเวลา.  ตอนที่เป็นเด็กนักเรียน เขานั่งมองท้องฟ้าจากหน้าต่างห้องเรียน  จ้องไปที่เมฆที่ลอยผ่านไปในท้องฟ้า.  เขานั่งมองอยู่อย่างนั้นนานเป็นชั่วโมงๆ.  เขาก็เหมือนคนอื่นๆในยุคนั้น ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า เมฆเกิดขึ้นได้อย่างไร? ทำไมเมฆลอยตัวสูงๆได้ ?  แต่เขาสนุกกับการสังเกตความผันแปรเปลี่ยนรูปของเมฆที่ดูไม่รู้จบ.  เขายอมรับเองว่า เขาไม่สนใจบทเรียนที่ครูกำลังสอนอยู่นัก แต่โชคมหันต์สำหรับอนาคตของอุตุนิยมวิทยา  เขาเรียนภาษาละตินได้ดี และมีทักษะเกี่ยวกับภาษาละตินดีทีเดียว. 
    เมื่อเทียบกับธรรมชาติวิทยาแขนงอื่นๆ  อุตุนิยมวิทยาหรือการศึกษาเกี่ยวกับสภาพอากาศนั้น เป็นแขนงวิชาที่พัฒนาล่าช้ากว่าแขนงอื่นๆ  เหตุผลหลักก็เพราะว่าอากาศเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ล่องลอย ไม่คงที่. เราไม่อาจจะดึงส่วนหนึ่งของรุ้งกินน้ำ หรือหยิบส่วนของเมฆมาชิ้นหนึ่ง เพื่อศึกษาวิเคราะห์อย่างใกล้ชิดตามความสะดวกของเรา.  เราอาจรองน้ำฝนเข้าในภาชนะที่เหมือนถ้วยตวงขนาดใหญ่ แต่ในที่สุด น้ำฝนที่ได้มา ก็เป็นเพียงน้ำถังหนึ่งเท่านั้น. 
        การจะเข้าใจเมฆนั้น ต้องเข้าถึงเมฆด้วยวิธีอื่น  และตรงนี้เองที่ความคิดของ Luke ได้แทรกเข้าไป   เปิดวิธีการมองเพื่อเข้าใจเมฆแก่เรา.  ความรอบรู้ในเรื่องเมฆของเขา มาจากการสังเกตเมฆตลอดเวลานาน ปีแล้วปีเล่า.  เขารู้ว่า เมฆมีรูปแบบที่เป็นเฉพาะของมันและแตกต่างกันหลายแบบ  แต่ก็มีรูปแบบพื้นฐานสองสามแบบที่เหมือนๆกัน.  ในความเป็นจริงคือ เมฆทั้งหมดที่เราเห็น อาจจัดเข้าเป็นกลุ่มสำคัญๆสามแบบที่ Howard ได้ตั้งชื่อให้ดังนี้
Cirrus [ซิเริซ] คำภาษาละตินที่แปลว่า ใย หรือผม (กลุ่มเมฆสีขาวโปร่งคล้ายใยไหม ลอยอยู่ในระดับสูงมากCumulus [คิ้วมิวเลิซ] คำภาษาละตินที่แปลว่า กองสูง กอง. (เมฆที่มีรูปร่างเป็นก้อนซ้อนๆกันขึ้นไปสูงๆStratus [ซฺตร๊าเทิซ] คำภาษาละตินที่แปลว่า ชั้นๆ หรือแผ่นๆ.  (เมฆที่เป็นแผ่นยาวทอดไปบนเส้นขอบฟ้า)
การตั้งชื่อเมฆยังไม่ใช่เรื่องฉลาดสุดยอดของ Luke.  เขาสังเกตจนรู้แน่แก่ใจว่า เมฆเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  มันอาจรวมตัวเข้าด้วยกัน  อาจลอยตัวขึ้นสูง อาจตกลงหรือแผ่กระจายออกไปในบรรยากาศ และเมฆไม่คงรูปลักษณ์ใดนานไปกว่าสองสามนาที.  Luke Howard ตระหนักถึงสภาวะนี้. การตั้งชื่อเมฆ ที่เป็นสิ่งที่ผันแปรอยู่เสมอนั้น ชื่อจึงต้องสื่อความเปลี่ยนแปลง ความไม่ถาวรคงที่คงรูปของเมฆไว้ให้ได้ด้วย.  ดังนั้น เขาจึงเพิ่มชื่อเมฆจากเดิมสามชื่อขึ้นเป็นเจ็ดชื่อ เพื่อใช้เจาะจงรูปแบบของเมฆที่อยู่ระหว่างสองแบบ หรือเป็นเมฆที่รวมตัวเข้าผสมกับเมฆอีกรูปแบบหนึ่ง ดังที่เกิดขึ้นบ่อยๆในหมู่เมฆ.  เขาเสนอให้รู้จักเมฆแบบ Cirrocumulus, Stratocumulus, Cirrostratus หรือ Cumulo-cirro-stratus (หรือที่เรียกว่า Nimbus ที่เป็นเมฆอุ้มฝน)  
      การประสมชื่อของเมฆสองแบบ จนถึงสามแบบ  เท่ากับเจาะจงการเปลี่ยนแปลงของเมฆจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง. เช่นเมฆ Cirrus ที่อยู่สูง และลดระดับลง แล้วแผ่กระจายตัวออกกว้างอันเป็นลักษณะของเมฆ Stratus ก็จะเรียกว่า Cirrostratus (คำแรกบอกว่ามันเป็นเมฆแบบไหนก่อน แล้วจึงเปลี่ยนเป็นเมฆแบบที่สอง).  ในขณะที่เมฆก้อนๆ ลอยตัวสูงขึ้นแล้วแผ่กระจายออกนั้น ให้ชื่อว่า Stratocumulus. ในที่สุด Howard ได้จัดเมฆออกเป็นเจ็ดแบบ  แต่หลังจากนั้นก็มีการขยายแบบเมฆออกไปเป็นสิบแบบ คือ Altocumulus และ Altostratus (คำละติน alto แปลว่า สูง นั่นคือเมฆที่อยู่ในระดับสูงเกือบถึง 20,000 feet แต่ไม่เกินระดับนี้ เมฆในระดับสูงสุดยังคงเป็น Cumulus และ Stratus ที่อยู่เหนือ 20,000 feet ขึ้นไป)  และยังมีเมฆ Cumulonimbus ที่เรียกกันสามัญว่า cloud nine หรือ เมฆหมายเลขเก้า ที่อยู่สูงที่สุด จนกลายเป็นสำนวนพูดว่า  being on cloud nine (อยู่บนเมฆหมายเลขเก้า) หมายถึง อยู่เหนือโลก โดยปริยาย อยู่เหนือกว่าผู้ใดนั่นเอง (being on top of the world).

การจัดแบบเมฆของ Howard นี้ เป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วทันที.   J.W. von Goethe กวีและนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้เขียนโคลงหลายบท สรรเสริญเมฆของ Howard เช่นในตอนจบของโคลงนี้ ที่เป็นที่จดจำกันว่า
As clouds ascend, are folded, scatter, fall,
Let the world think of thee who taught it all.
เหมือนเมฆที่ลอยขึ้นสูง ห่อตัว ทอดตัวออก และตกลง  ขอให้ชาวโลกรำลึกถึงคุณว่าเป็นผู้สอนทั้งหมดนี้แก่เรา
ส่วน Percy Shelly ก็ได้เขียนบทกวีที่ได้รวมเมฆ 7 แบบของ Luke Howard ไว้ในโคลงที่ชื่อว่า  The Cloud. (ดูบทโคลงท้ายเรื่องข้างล่างนี้).  แต่คนที่สร้างความประทับใจมากที่สุด และที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองการตั้งชื่อเมฆของ Howard น่าจะเป็นจิตรกรชาวอังกฤษ John Constable (1776-1837)  เขาเดินทางออกไปที่ Hamstead Heath (ชานกรุงลอนดอน) ไปอยู่และสังเกตมวลเมฆตามอย่างของ Luke Howard ตลอดช่วงฤดูร้อนสองฤดูติดต่อกัน และวาดภาพของเมฆในที่โล่งกว้าง. (ดูตัวอย่างภาพท้ายเรื่องนี้)  
       เมื่อเรารู้จักชื่อเมฆ และจัดเข้ากลุ่มเมฆแบบใดแบบหนึ่งได้แล้ว เราก็เข้าใจเมฆง่ายขึ้น ว่าจริงๆแล้วเมฆเป็นเครื่องหมายที่ตามองเห็น ที่บอกเล่ากระบวนการหมุนเวียนของบรรยากาศโลกที่ตามองไม่เห็น และหากไม่มีความรู้เรื่องเมฆที่ Howard ได้มอบแก่เรา  เราก็คงไม่เข้าใจการมีอยู่ของบรรยากาศโลก  เมฆจึงเหมือนบันทึกประจำวันของบรรยากาศบนท้องฟ้า  และทำให้เราเข้าใจกระบวนการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของอากาศ (weather) และภูมิอากาศ (climate). 
        สิ่งที่เจาะทะลุปริศนาเรื่องเมฆ น่าจะเป็นการค้นพบที่ว่า เมฆก็อยู่ใต้กฎฟิสิกส์เฉกเช่นสรรพสิ่งทั้งมวลบนโลก.  เช่นเมฆมิได้ลอยในอากาศ (ตามที่เราคิดและเชื่อกัน) เพราะในความเป็นจริง เมฆค่อยๆลดต่ำลงสู่พื้นโลกอย่างช้าๆ ตามอิทธิพลของแรงดึงดูดของโลก.  แต่เมฆบางกลุ่มอาจลอยตัวขึ้นสูง ทั้งนี้เพราะเมื่อผิวโลกร้อนจัด ผิวโลกก็คลายความร้อนออก เกิดเป็นมวลอากาศร้อนลอยตัวขึ้นสูงจากพื้นโลก พาเมฆในบริเวณนั้นๆลอยตัวขึ้นไปด้วย  แต่เมฆส่วนใหญ่เลื่อนต่ำลงๆอย่างช้าๆ.
        เมฆเป็นเทพอุปถัมภ์ของคนช่างฝัน(หรือคนไม่มีอะไรทำ) ดังที่ปราชญ์ชาวกรีก Aristophanes เขียนไว้เมื่อ 420 ปีก่อนคริสตกาล.  ถึงกระนั้น เมฆศึกษา (nephology ที่เป็นแขนงหนึ่งในอุตุนิยมวิทยา - meteorology)  มักถูกมองว่าเป็นศาสตร์วิชาของคนชอบฝันกลางวัน (daydreamer’s science).  แต่ศาสตร์นี้ได้อุบัติขึ้นจริง จากชายหนุ่มช่างคิดคนหนึ่ง ผู้หลงใหลจ้องมองท้องฟ้าจากหน้าต่าง.. 

ดูคลิปวีดีโอเป็นภาษาอังกฤษได้ที่นี่ >>>

Percy Shelley (1792-1822) แต่งโคลงชื่อ The Cloud  ในราวปลายปี 1819 หรือต้นปี 1820.
The Cloud
    I bring fresh showers for the thirsting flowers,
         From the seas and the streams;
    I bear light shade for the leaves when laid
         In their noonday dreams.
    From my wings are shaken the dews that waken
         The sweet buds every one,
    When rocked to rest on their mother's breast,
         As she dances about the sun.
    I wield the flail of the lashing hail,
         And whiten the green plains under,
    And then again I dissolve it in rain,
         And laugh as I pass in thunder.

    I sift the snow on the mountains below,
         And their great pines groan aghast;
    And all the night 'tis my pillow white,
         While I sleep in the arms of the blast.
    Sublime on the towers of my skiey bowers,
         Lightning my pilot sits;
    In a cavern under is fettered the thunder,
         It struggles and howls at fits;
    Over earth and ocean, with gentle motion,
         This pilot is guiding me,
    Lured by the love of the genii that move
         In the depths of the purple sea;
    Over the rills, and the crags, and the hills,
         Over the lakes and the plains,
    Wherever he dream, under mountain or stream,
         The Spirit he loves remains;
    And I all the while bask in Heaven's blue smile,
         Whilst he is dissolving in rains.

    The sanguine Sunrise, with his meteor eyes,
         And his burning plumes outspread,
    Leaps on the back of my sailing rack,
         When the morning star shines dead;
    As on the jag of a mountain crag,
         Which an earthquake rocks and swings,
    An eagle alit one moment may sit
         In the light of its golden wings.
    And when Sunset may breathe, from the lit sea beneath,
         Its ardours of rest and of love,
    And the crimson pall of eve may fall
         From the depth of Heaven above,
    With wings folded I rest, on mine aëry nest,
         As still as a brooding dove.

    That orbèd maiden with white fire laden,
         Whom mortals call the Moon,
    Glides glimmering o'er my fleece-like floor,
         By the midnight breezes strewn;
    And wherever the beat of her unseen feet,
         Which only the angels hear,
    May have broken the woof of my tent's thin roof,
         The stars peep behind her and peer;
    And I laugh to see them whirl and flee,
         Like a swarm of golden bees,
    When I widen the rent in my wind-built tent,
         Till calm the rivers, lakes, and seas,
    Like strips of the sky fallen through me on high,
         Are each paved with the moon and these.

    I bind the Sun's throne with a burning zone,
         And the Moon's with a girdle of pearl;
    The volcanoes are dim, and the stars reel and swim,
         When the whirlwinds my banner unfurl.
    From cape to cape, with a bridge-like shape,
         Over a torrent sea,
    Sunbeam-proof, I hang like a roof,
         The mountains its columns be.
    The triumphal arch through which I march
         With hurricane, fire, and snow,
    When the Powers of the air are chained to my chair,
         Is the million-coloured bow;
    The sphere-fire above its soft colours wove,
         While the moist Earth was laughing below.

    I am the daughter of Earth and Water,
         And the nursling of the Sky;
    I pass through the pores of the ocean and shores;
         I change, but I cannot die.
    For after the rain when with never a stain
         The pavilion of Heaven is bare,
    And the winds and sunbeams with their convex gleams
         Build up the blue dome of air,
    I silently laugh at my own cenotaph,
         And out of the caverns of rain,
    Like a child from the womb, like a ghost from the tomb,
         I arise and unbuild it again.

    สำหรับผู้ที่สนใจอ่านบทวิเคราะห์เรื่อง The Cloud ของ Percy Shelley ก็อ่านลองเข้าไปอ่านได้ที่นี่  

    เรื่องเมฆๆ ทำให้นึกถึงกลอนเปล่าบทนี้ของ Charles Baudelaire [ชารฺเหลอะ โบ๊ดแลรฺ] กวีฝรั่งเศส จาก Petits Poèmes en prose, 1 (1869)  ดังนี้
   - Qui aimes-tu le mieux, homme enigmatique, dis? ton père, ta mère, ta soeur ou ton frère?
- Je n'ai ni père, ni mère, ni soeur, ni frère.
- Tes amis?
-Vous vous servez là d'une parole dont le sens m'est resté jusqu'à ce jour inconnu.
- Ta patrie?
- J'ignore sous quelle latitude elle est située.
- La beauté?
- Je l'aimerais volontiers, déesse et immortelle.
- L'or?
- Je le hais comme vous haïssez Dieu.
- Eh! qu'aimes-tu donc, extraordinaire étranger?
- J'aime les nuages... les nuages qui passent... là-bas... là-bas... les merveilleux nuages!
     ใจความคือ >>>    
เจ้าชอบใครมากกว่า  เจ้าคนปริศนา   บอกมาซิ  พ่อเจ้า แม่เจ้า น้องสาวเจ้า น้องชายเจ้า ?
ข้าไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีน้องสาวหรือน้องชาย
เพื่อนเจ้าล่ะ
เพื่อนหรือ หมายถึงอะไร เป็นคำที่ข้าไม่เคยรู้จัก จนถึงวันนี้
บ้านเกิดเจ้าล่ะ
ข้าไม่รู้ว่ามันตั้งอยู่บนเส้นละติจูดไหน
ความงามล่ะ
ข้าจักรักความงามด้วยความเต็มใจ เหมือนเทพธิดา ผู้อมตะ
ทองล่ะ
ข้าเกลียดมันเหมือนท่านเกลียดพระเจ้า
เอ !  แล้วเจ้ารักอะไรบ้างล่ะ เจ้าคนนอกผู้ประหลาดเหลือ
ข้าชอบเมฆ เมฆที่เคลื่อนผ่านไป ...นั่นไง... นั่นไง... เมฆสวยมหัศจรรย์เหล่านั้น...
-------------------------------
 John Constable (1776-1837)  ได้เดินทางออกไปที่ Hamstead Heath (ชานกรุงลอนดอน) ไปอยู่และสังเกตมวลเมฆตามอย่างของ Luke Howard. เขาตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเป็นจิตรกรภูมิทัศน์ให้ได้  ประสบการณ์เรื่องเมฆ  ทำให้เขาแบ่งพื้นที่จำนวนมากเพื่อแสดงเมฆรูปแบบต่างๆตรงตามความเป็นจริงบนผืนผ้าใบของเขา  เมฆกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จิตรกรคนอื่นๆไม่เคยให้ความสำคัญเท่า.  ผลงานจิตรกรรมของ Constable โดดเด่น และดลใจแนวการแต่งแต้มสีและจัดวางภูมิทัศน์แก่จิตรกรร่วมสมัยชาวฝรั่งเศสเช่น Géricault และ Delacroix รวมทั้งโรงเรียนสอนศิลป์ Barbizon ของฝรั่งเศส และจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ในปลายศตวรรษที่ 19 อีกด้วย.  Constable ได้ส่งภาพ The Hay Wain (รถบรรทุกฟาง)  เข้าประกวดในนิทรรศการวิจิตรศิลป์ประจำปี  Paris Salon 1824 และได้รับรางวัลเหรียญทองด้วย )  
ภาพ The Hay Wain รถบรรทุกฟาง ของ John Constable ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง
จากการนำไปออกแสดงในนิทรรศการวิจิตรศิลป์  Paris Salon, ปี 1814.
ภาพ Salisbury Cathedral from the Bishop’s grounds ของ John Constable 1825.
Salisbury meadows 
View from Hamstead Heath looking towards Harrow.
โชติรส โกวิทวัฒนพงศ์ 
สมาชิกผู้หนึ่งของชมรมคนรักมวลเมฆแห่งสหราชอาณาจักร 
รายงาน ณ วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๙.

  ฟัอ่านโคลงบทนี้ และฟังเป็นเพลง ได้จากที่นี่   
>> https://www.youtube.com/watch?v=NjqT5GVS7Uo  
(ร้องเป็นเพลง stanza สุดท้าย + stanza ที่หนึ่ง + stanza สุดท้าย)
>> https://www.youtube.com/watch?v=0fsRyQQjeVg (recital เสียงผู้หญิง)
>> https://www.youtube.com/watch?v=X8fylsg3DiY   (Atmospheric interpretation of Shelley's The Cloud.)

No comments:

Post a Comment