หาโอกาสนั่งสงบสบายๆ
มองดูท้องฟ้า ยามใกล้รุ่ง ยามสนธยา ยามค่ำ จนยามดึก
หายใจลึกๆ
ยิ่งหายใจเข้าออกสม่ำเสมอแล้วล่ะก็…
เข้าถึงสวรรค์ชั้นฟ้าเลย
เริ่มต้นปีใหม่ ใต้ท้องฟ้า…
เห็นดาวสุกสว่าง
โบราณว่าให้ตั้งจิตอธิษฐาน ความฝันมักจะเป็นจริง
When you wish upon a star
Makes no difference who you are
Anything your heart desires
Will come to you
If your heart is in your dream
No request is too extreme…(1)
Makes no difference who you are
Anything your heart desires
Will come to you
If your heart is in your dream
No request is too extreme…(1)
อย่ารีรอ…
ตั้งจิตให้สงบ มองไปที่ดาวดวงสุกสว่างนั้น
ตั้งความหวัง แล้วตามไป… in the sun and in the rain
นั่นไง!
Follow it over the hills and the streams (2)
ใช่แล้ว นั่นไง…
Somewhere over the rainbow skies are blue
And the dreams that you dare to dream
And the dreams that you dare to dream
really do come true… (3)
ต้องตามไป ไปตามฝัน…
to boldly go where no man has been
before…
So I bundled my heart and I roamed the world free
To the east with a lark, to the west with the sea
And I searched all the earth and I scanned all the skies (2)
To the east with a lark, to the west with the sea
And I searched all the earth and I scanned all the skies (2)
ไปตามคนช่างฝัน…
Oh, the lure of
that song
Kept « my » feet running wild.
For you never grow old and you never stand still…
Kept « my » feet running wild.
For you never grow old and you never stand still…
Follow the fellow who follows a
dream… (2)
บนเส้นทางที่เดินไป และเดินมา…
ไม่พบใครชอบฝัน
คึกคักคับคั่งณต้นทางในเมือง
โดดเดี่ยวเดียวดายที่ปลายทาง…
... I found at last
there in my heart …
Light and blithe the rainbow’s smiling eyes.
เบิกบานในที่สุด เห็นสายรุ้งยิ้มพรายในหัวใจ
เคลิ้มๆ… ตื่นมาสู่โลกที่มนุษย์สร้าง
นึกถึงภาพท้องฟ้า
“สไตล์อิสลาม” ชวนให้ตะลึง
ภาพครึ่งหนึ่งของโดมแห่งสุเหร่า
Sheikh Lotfollah Mosque. ด้านตะวันออกของจัตุรัส Naghsh-i-Jahan
Square, Esfahan, Iran. เริ่มสร้างในปี 1603 และแล้วเสร็จในปี 1619 ในสมัย Shah Abbas I of Persia (Safavid Empire). Shaykh Bahai
เป็นหัวหน้าสถาปนิก. ถือกันว่าเป็นผลงานยอดเยี่ยมของสถาปัตยกรรมอิหร่าน. ขนาดเล็ก ผิดจากแบบมาตรฐานของสุเหร่าและยังไม่มีหอคอย (หอคอย minaret
เป็นเหมือนกระบอกเสียง
เหมือนลำโพงที่ทำให้เสียงก้องกังวานไปไกล เพื่อเรียกศาสนิกสวดมนต์ห้าครั้งต่อวัน)
ทำให้เชื่อกันว่า
น่าจะเป็นสุเหร่าสำหรับใช้ภายในหมู่พระญาติพระวงศ์ต้นศตวรรษที่17เท่านั้น.
เมื่อดึงภาพมาดูใกล้ๆ เห็นการตกแต่งประดับโดมอย่างชัดเจน
โดยทั่วไปและโดยเฉพาะกรณีของสุเหร่านี้ เป็นศิลปะโมเสกรูปดอกไม้พืชพันธุ์อย่างละเอียด
มีดวงดาวเจ็ดแฉกที่อยู่ใกล้กว่า และดาวห้าแฉกที่อยู่ไกลหรือสูงขึ้นไป.
สี่ศตวรรษผ่านไป
ยังคงสวยงาม เป็นดอกไม้ไม่รู้โรย โปรยปรายลงมาจากฟากฟ้า เหมือนของขวัญจากสวรรค์.
มาคิดว่าการที่ชาวมุสลิมยึดมั่นเรื่องห้ามแสดงรูปลักษณ์ของ
Allah นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ผู้ศึกษาวิจัยศาสนาและปราชญ์มุสลิมกันเองในแต่ละประเทศ
เพราะไม่มีหลักฐานจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร(ในคัมภีร์ต้นฉบับ) แต่มีข้อความระบุห้ามสร้างภาพลักษณ์ใดแล้วเอามากราบไหว้บูชาว่าเป็นสิ่งสักดิ์สิทธิ์
มีอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ (เกือบทุกศาสนา ห้ามกราบไหว้บูชารูปเคารพแบบใด
ไอคอนต่างๆ-idolatry. การที่คนไทยสั่งสมเครื่องลางของขลัง
ถือว่าเข้าข่ายนี้). แต่ไปๆมาๆเพื่อแก้ปัญหาและเพื่อให้สอดคล้องกับคำสำนวนเปรียบเทียบที่ชาวมุสลิมกล่าวพรรณนาถึงอัลเลาะห์ในทำนองว่า
«พระเจ้าเป็นผู้ที่ไม่มีใครเข้าถึง หรือสัมผัสได้
เป็นดั่งป้อมปราการที่ไม่มีประตูหรือหน้าต่าง» เป็นการดีที่จะถือเป็นกฎปฏิบัติไปเลย. ดังนั้น การประพฤติปฏิบัติในพิธีกรรมอิสลาม พัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามท้องที่
ตามเหตุการณ์ของสังคม ตามยุคสมัยมากกว่า ที่ทำให้เกิดการสั่งห้ามแสดงภาพใดๆของอัลเลาะห์
ของศาสดาโมฮัมเหม็ด จนรวมไปถึงการแสดงภาพใดๆของสิ่งมีชีวิต. ในหมู่ชาวมุสลิมด้วยกันเอง ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นคล้อยตามหลักการนี้ แต่เพราะเขาไม่พูด
ไม่กล้าพูด กล้าเถียงหรือขี้เกียจพูด จึงปฏิบัติตามๆกันมาแบบอัตโนมัติ. การศึกษาจนเข้าใจคัมภีร์อย่างทะลุปรุโปร่ง ไม่ว่าคัมภีร์ศาสนาใด
ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจใช้เวลาตลอดชีวิต ภาษาที่ใช้จารึกก็เป็นคนละยุค
ความหมายเปรียบความหมายนัย คนต่างยุคเข้าใจได้ถ่องแท้ตรงกันหรือไม่ ยังต้องดูต้องถกเถียงกันต่อไป.
อีกประการหนึ่ง หากสรุปง่ายๆตามประสาสามัญชนว่า
พระเจ้า(ศาสนาใดก็ตาม) คือ «ความเป็นที่สุด ความสมบูรณ์ ความงาม ความลึกล้ำ» นั้น, ผู้ที่มีคุณสมบัติทั้งหลายเหนือกว่าเท่านั้น
จึงจะหยั่งรู้หรือสัมผัสได้โดยตลอดและถ่ายทอดออกมาได้สมจริงและถูกต้อง
นอกนั้นเป็นเพียงการคาดเดาของสามัญชนคนเดินดิน หรือมิใช่? เท่ากับว่า การแสดงออกไม่ว่าจะสวยวิเศษเพียงใด เป็นเพียงจินตนาการเล็กๆด้านหนึ่งที่อาจถูกหรือเป็นไปได้
แต่ใครล่ะจะกล้ายืนยัน ถ้าไม่ใช่พระเจ้าเอง.
Marcel
Proust (นักเขียนฝรั่งเศส ใน A
la Recherche du Temps Perdu) เคยกล่าวไว้ว่า
การวาดภาพเหมือนฝีมือจิตรกรเอกชั้นครู (หรือแม้การถ่ายภาพในปัจจุบัน ไม่ว่ากล้องจะดีวิเศษอย่างไร) ภาพนั้นก็ไม่อาจเป็นภาพตัวแทนของคนนั้นได้อย่างแท้จริง
เป็นภาพจากชีวิตเพียงเสี้ยววินาทีของคนนั้น นาทีนั้นผ่านไปแล้ว คนนั้นในนาทีต่อมา
ก็หาใช่คนเดียวกันทุกประการไม่ (สอดคล้องกับความจริงทางชีววิทยาและพุทธปรัชญาว่า ร่างกายคนเกิดและดับตลอดเวลา)
เช่นนี้เราจะยึดนาทีไหนให้เป็นตัวแทนของทั้งชีวิตเราได้หรือ?
โชคดีที่ศิลปินยังนำเสนอภาพธรรมชาติ ต้นไม้ดอกต่างๆได้ ที่ถือว่าเป็นงานสร้างสรรค์ของอัลเลาะห์.
และชาวมุสลิมออกแบบรูปลักษณ์ลวดลายเรขาคณิตไขว้หรือสอดพันเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง
เป็นจังหวะคงที่สม่ำเสมอต่อๆกันไป(และที่ทวีความซับซ้อนมากขึ้นตามลำดับ) ที่กลายเป็นรูปแบบศิลปะ
arabesque.
โดมในสถาปัตยกรรมอิสลาม
พูดกันว่าเหมือนรวงผึ้ง แม้มองเป็นรูๆคล้ายกัน แต่รวงผึ้งห้อยลงเป็นแผงหนาๆ มีช่องๆ. โดมสุเหร่า เป็นรูปกลมสูงขึ้นไปในอากาศ มองจากภายนอกอาคาร
หลังคาสุเหร่าเป็นทรงกลม มองจากภายในก็เป็นทรงกลมเหมือนกัน แต่พื้นที่เพดานของโดมทำเป็นระดับชั้นๆขึ้นไป
ประดับประดาดังตัวอย่างข้างบนนี้. การทำเช่นนี้
มาจากข้อความในคัมภีร์อัลกุรอานว่า ท้องฟ้าหรือจักรวาล(ในความหมายกว้าง) «มีเจ็ดชั้นซ้อนๆกันขึ้นไป
ที่มีองค์ประกอบเคมีต่างกันที่ทำให้อุณหภูมิต่างกันทั้งเจ็ดชั้น และแต่ละชั้นมีบทบาทหน้าที่ของมันด้วย».
เจ็ดชั้นมีอะไรบ้าง มีหน้าที่อะไร ในศตวรรษที่ 6 เมื่ออิสลามเริ่มวางรากฐานนั้น
คงไม่มีใครคิดซักถามว่าท้องฟ้านั้นเป็นเช่นไร
แม้ว่าชาวอาหรับมีชื่อเสียงว่าศึกษาพัฒนาความรู้ด้านดาราศาสตร์ไปไกลกว่าชาวยุโรป ก็เป็นยุคหลังๆคือระหว่างศตวรรษที่
9-13 ที่เป็นยุคทองของอิสลาม
ตำราความรู้จากอิสลามเขียนเป็นภาษาอาราบิค.
เห็นเพดานโดมใกล้ๆอย่างนี้ อดปลื้มไม่ได้ว่า
งานก่อสร้างและงานฝีมือของชาวอิหร่านนั้น นับว่าสุดยอดไม่เป็นรองผู้ใดเลย ไม่ว่าเรานับถือศาสนาใด
ย่อมปิติไปกับความสวยงาม ความประณีตที่สร้างสรรค์ขึ้น
เหมือนมาลัยดอกไม้ถวายแด่ผู้ที่คนเคารพบูชา.
ส่วนท้องฟ้าจากการก่ออิฐถือปูนธรรมดาๆ
ก็ดูดีมาก ดูแล้วก็คิด… ช่างไทยน่าไปเรียนจากที่นั่น. ทำด้วยใจ ผลที่ได้ต่างกันราวฟ้ากับดิน.
ภายในโดม สุเหร่า
Imam Mosque, Esfahan โดมแบบก่ออิฐถือปูนธรรมดาๆ สวยน่าทึ่งมาก
สวรรค์เจ็ดชั้นในอิสลามนั้น ชาวมุสลิมปลาบปลื้มว่า
คัมภีร์อัลกุรอานบอกไว้เมื่อพันกว่าปีมาแล้วแม้เพียงสั้นๆ. ในเน็ตอิสลามทั้งอังกฤษฝรั่งเศส
นักคิด นักปราชญ์และอิหม่ามทั้งหลาย(ไม่ว่าจากชาติใด) ยังคงถกเถียงกันไม่ลงตัวว่า
ท้องฟ้าเจ็ดชั้นหรือสวรรค์เจ็ดชั้น เหมือนกันไหม ต่างกันไหม ต่างกันอย่างไร แล้วจะบอกเล่าสืบทอดต่อไปอย่างไร… ทุกอย่างอยู่ที่การตีความ
เพราะในคัมภีร์ฉบับดั้งเดิม ไม่มีรายละเอียด. อย่างไรก็ดี พวกเขาปลาบปลื้มยิ่งขึ้นอีกเมื่อวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
จัดแบ่งชั้นท้องฟ้า(ชั้นบรรยากาศโลก)เป็นเจ็ดชั้นเช่นกัน.
เลยต้องตามไปเอาข้อมูล(ย่อๆ)จากดาราศาสตร์สมัยใหม่มาเสริมให้ตัวเองเข้าใจ
ข้อมูลจากภาพข้างบนนี้ การกำหนดระยะทางของท้องฟ้าแต่ละชั้นจากพื้นผิวโลก
ไม่ตรงกับข้อมูลจากภาพข้างล่างนี้ เพราะการที่เป็นอากาศ โดยปริยายจับเข้าที่เข้าทางหรือให้หยุดกับที่นั้นไม่ได้
การลากเส้นแบ่งชั้นท้องฟ้าจึงเป็นการกะคร่าวๆ.
ท้องฟ้าเจ็ดชั้นตามความรู้ดาราศาสตร์สมัยใหม่
มีดังนี้
1. ชั้น Troposphere เป็นท้องฟ้าชั้นที่ใกล้โลกที่สุด
มีความหนาไม่เท่ากัน ตั้งแต่7 กิโลเมตรเหนือขั้วโลก หรือ18 กิโลเมตรบริเวณเส้นศูนย์สูตร และประมาณ13 กิโลเมตรแล้วแต่ฤดูในเขตอบอุ่น. ความเปลี่ยนแปลงด้านอุตุนิยมส่วนใหญ่เกิดขึ้นในท้องฟ้าชั้นแรกนี้.
เมื่อขึ้นไปสูงๆ อุณหภูมิจะลดลงประมาณ 6°C (เซนติเกรด) ทุก 1000 เมตรและจะอยู่ที่ -56°C เมื่อถึงชั้นต่อระหว่างชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 (เรียกว่า Tropopause).
อุณหภูมิเหนือพื้นดินร้อนที่สุด
ร้อนกว่าในชั้นสูงๆขึ้นไป เพราะพื้นผิวโลกคลายความรู้ขึ้นสู่บรรยากาศชั้นนี้.
2. ชั้น Stratosphere
ชั้นนี้เป็นที่ตั้งของโอโซน(O₃,เรียกว่า Ozonosphere) ที่จำเป็นสำหรับชีวิตบนพื้นโลก โอโซนทำหน้าที่ดูดแสงอัลตราไวโอเล็ต(แสงยูวี-UV)ในแสงอาทิตย์. แสงยูวีเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต.
การดูดซึมแสงยูวีทำให้มีการคายพลังงานความร้อน.
ดังนั้นยิ่งขึ้นไปสูงในท้องฟ้าชั้นที่สอง
อุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้นๆ. การเคลื่อนไหวของอากาศน้อยลงมาก และสภาพทั่วไปของบรรยากาศชั้นที่สอง สงบกว่า.
3. Mesosphere อุณหภูมิในท้องฟ้าชั้นนี้ลดลงๆเมื่อขึ้นสูง และอยู่ที่ประมาณ -80°C ณความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร. ฝุ่นหรืออนุภาคใดที่มาจากอวกาศเช่นอุกาบาต
เมื่อเข้าในบรรยากาศชั้นที่สามนี้ จะลุกเป็นไฟเพราะเสียดสีกับอากาศ.
ปรากฏการณ์นี้ที่เรียกกันว่า “อุกาบาต หรือ ดาวตก”.
4. Thermosphere เป็นท้องฟ้า(ที่มีมวลหนาแน่นชัดเจน)ชั้นที่สูงที่สุด (มีชั้นสูงกว่านี้
แต่ขอบเขตไม่ชัดเจน และไปถึงชั้นที่เจ็ดที่เป็นเกราะหุ้มโลก)
ปรากฏการณ์เรืองแสงในท้องฟ้าใกล้ขั้วโลกเหนือและใต้
ที่แผ่กระจายและบางทีลำแสงโยกย้ายไปมาเหมือนเต้นรำในท้องฟ้านั้น เกิดขึ้นในท้องฟ้าชั้นนี้.
ยิ่งสูงขึ้นไปในชั้นนี้ อุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้น
และอาจถึง 100°C. อากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกเป็นพันๆกิโลเมตรและค่อยๆหายไปในอวกาศ. ยิ่งสูงขึ้นไปอากาศยิ่งบางลง.
5. Exosphere เป็นท้องฟ้าชั้นนอกสุดของโลก อาจนับว่าเป็นท้องฟ้าทางผ่านระหว่างบรรยากาศโลกกับอวกาศ.
ท้องฟ้าชั้นนี้ เป็นที่อยู่ของแก๊ซเบาๆทั้งหลาย
เช่นแก๊ซไฮโดรเจน อยู่ทั่วไปในชั้นนี้ ยังมีแก๊ซฮีเลียม แก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์
แก๊ซออกซิเจนอะตอมเดียว(O). แก๊ซเหล่านี้อยู่ในตอนล่างของท้องฟ้าชั้นนี้. ความจริงแล้ว เป็นการยากที่จะกำหนดเส้นแบ่งหรือพรมแดนของท้องฟ้าชั้น exosphere
ที่อาจนับเป็นส่วนหนึ่งของอวกาศนอกโลก หรือเป็นอวกาศที่อยู่ระหว่างดวงดาวก็ได้.
ตามหลักการแล้ว ท้องฟ้าชั้นนี้หนามากน้อยเท่าใดนั้น
ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วงของโลก ว่ายังมีอิทธิพลต่ออนุภาคต่างๆที่อยู่ในอากาศชั้นนี้ไหม
นั่นคือทำให้อนุภาคในท้องฟ้าชั้นนี้กลับคืนเข้าสู่โลกได้ไหม (ถ้าอนุภาคยังอยู่ในอำนาจแรงดึงดูดของโลก ส่วนนั้นก็ถือว่าเป็นท้องฟ้าของโลก).
ตัวอย่างเช่น geocorona (ส่วนของท้องฟ้าที่สุกสว่างในชั้น exosphere) เมื่อมองจากยานอวกาศ วัดระยะทางได้ประมาณหนึ่งหมื่นกิโลเมตรจากพื้นโลก.
6. Ionosphere ท้องฟ้าชั้นนี้เป็นชั้นที่มีปฏิกิริยาไฟฟ้ามาก โต้ตอบกับชั้นที่ 7 และกับลมสุริยะ
ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าอื่นๆที่ส่งต่อลงไปถึงใจกลางโลกด้วย. สั้นๆคือเป็นเหมือนสนามเล่นของคลื่นสั้น(คลื่นวิทยุ). คลื่นสั้นที่ออกจากเครื่องส่ง(transmitter)จะกระโดดไปในชั้นบรรยากาศนี้ แล้วย้อนกลับลงสู่พื้นโลก
(ชั้นนี้จึงแสดงให้เห็นเป็นแนวเฉียงลงจากท้องฟ้าชั้นสูงๆลงไปชั้นล่างๆ). คลื่นสั้นเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่พื้นโลกในมุมเฉียงๆ อาจวิ่งไปรอบโลกได้เลย.
บรรยากาศชั้นนี้จึงเอื้อให้คนสร้างระบบสื่อสารกับดินแดนห่างไกลกันมากๆได้.
7. Magnetosphere อยู่เหนือขึ้นไปจากชั้นที่ 6 สูงไปในอวกาศหลายหมื่นกิโลเมตร. ท้องฟ้าชั้นนี้เป็นเสมือนเกราะที่ปกป้องโลก เป็นส่วนที่ตั้งของสนามแม่เหล็กโลก. ในอวกาศมีอนุภาคต่างๆมาก ที่ลมสุริยะหอบพัดมาถึงโลกได้ รวมทั้งรังสีจักรวาลแบบต่างๆที่อาจ“กวาด”บรรยากาศชั้นสูงๆของโลกไปได้
(รวมทั้งชั้นโอโซน) นั่นคือทำลายโลกได้ หากไม่มีท้องฟ้าชั้น magnetosphere. อนุภาคอะไรก็ตามที่เข้ามาใกล้โลก จะถูกกำลังของสนามแม่เหล็กบังคับให้หมุนไปรอบๆ
แทนการพุ่งเข้าใส่โลก แต่บางครั้งก็มีอนุภาคบางส่วนเช่นอีเล็กตรอนที่เล็ดลอดผ่านเกราะแม่เหล็กนี้
ลงไปทางขั้วโลก พุ่งลงด้วยความเร็วสูง ปะทะกับอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนที่อยู่ในท้องฟ้าชั้นสูงๆของโลก
ทำให้เกิดแสงกระจายแผ่ออกเป็นลำแสงขนาดต่างๆ ที่เรียกกันว่า Northern
Lights (aurora borealis) เมื่ออยู่แถบขั้วโลกเหนือ
และเมื่ออยู่แถบขั้วโลกใต้ เรียกว่า Southern Lights
(aurora australis). การเข้าใจท้องฟ้าชั้นนี้จึงสำคัญมาก ช่วยให้นักดาราศาสตร์คิดประเมินผลกระทบและหาทางป้องกันโลกจากอนุภาคที่เป็นอันตรายที่มากับลมสุริยะเป็นต้น.
มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสนามแม่เหล็กโลกอีกมาก
รวมทั้งที่ Nasa ค้นพบว่า เกิดรอยปลิเป็นช่องโหว่ในสนามแม่เหล็กโลก
เป็นเรื่องราวน่าติดตาม. นักวิทยาศาสตร์บางคนพูดเปรียบให้เข้าใจง่ายๆว่า ชั้น magnetosphere นี้ สนทนาโต้ตอบ โต้แย้งหรือต่อรองกับพลังงานในจักรวาลอยู่เสมอ ที่สำคัญคือ
หากสนามแม่เหล็กโลกถูกรบกวน(ถูกกวนโมโห)บ่อยๆ
มันส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งต้นไม้ด้วย
ต่อคน(ที่เขาวิจัยกันมา)เช่นต่อความทรงจำระยะสั้น (short-tern
memory) ของคน (ตัวอย่าง พูดค้างกลางประโยค
คิดไม่ออกว่าจะพูดอะไรต่อ) หนักกว่านี้คือทำให้สมองผิดปกติเป็นต้น.
ในภาพข้างบนนี้
แถบสีฟ้าๆคือท้องฟ้าส่วนที่เป็นเกราะป้องกันสนามแม่เหล็กของโลกไว้ภายใน เรียกว่า magnetosphere. ลูกกลมๆเท่าหัวหมุดนั้น
คือโลก. การแผ่กระจายของอำนาจแม่เหล็กที่เห็นเป็นสีชมพูเข้มสองข้างโลก
คือส่วนที่มีพลังหนาแน่นของสนามแม่เหล็ก แล้วขยายออกเป็นเส้นสีแดงๆกระจายออกจากสองขั้วโลก
เป็นวงกลม วงรี วงยาวยืดๆออกไปทางขวามือของภาพ รูปแบบต่างๆกันนี้ เป็นผลมาจากการปะทะกับลมสุริยะ
(solar wind). Magnetopause เป็นเกราะทางผ่านอีกชั้นหนึ่งก่อนจะเข้าสู่ท้องฟ้าชั้นต่ำลงมา.
ส่วนของภาพสีส้มๆแดงๆทางซ้ายมือ
คือแสงดวงอาทิตย์ที่แผ่มาถึงโลก
ลมสุริยะก็มาจากดวงอาทิตย์ นำอนุภาคต่างๆจากดวงอาทิตย์หรือบนเส้นทางที่แสงผ่านกว่าจะมาถึงโลก. เมื่อเทียบสัดส่วนกัน
โลกเป็นเพียงจุดกลมๆเล็กกว่าหัวเข็มหมุด. เส้นสีฟ้าๆทั้งหมดแสดงพลังของสนามแม่เหล็กโลกที่รวมกันเป็นกระจุกตรงส่วนของโลกที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
และยืดยาวออกไปทางขวาของภาพ เพราะความแรงของลมสุริยะที่พัดกระหน่ำใส่โลก.
เราพอจะเข้าใจกว้างๆว่าท้องฟ้านั้น
สำคัญสำหรับความอยู่รอดของสรรพชีวิตบนโลกอย่างไร. ใครที่อยากสูดโอโซน ต้องขึ้นสูงไปในท้องฟ้าเกิน 18
กิโลเมตรขึ้นไป. ณนาทีปัจจุบัน
ตึกที่สูงที่สุดในโลกคือ Burj Khalifa ที่ Dubai (828 เมตร) เพราะฉะนั้นเราน่าจะปลูกต้นไม้ให้มากที่สุดบนโลกเพื่อออกซิเจนของสรรพชีวิต
ลงทุนพัฒนาแผ่นดินให้เขียวชอุ่มไว้ แทนการสร้างตึกระฟ้า…
เจาะท้องฟ้าสไตล์มุสลิม เลยต้องเอาแบบบันไดมาให้ดูด้วย. ระหว่างที่อยู่ในอิหร่าน เห็นภาพโปสเตอร์ใหญ่ๆบนถนนสายสำคัญๆ
เป็นภาพบันไดลอยไปสู่ the vanishing point เข้าใจความหมายพอสมควร แต่ถ่ายรูปไม่ทัน เพราะอยู่บนรถทัวร์
บางรูปที่เห็นสวยกว่าภาพนี้ที่เอามาจากเน็ต. เหมือนกระตุ้นเตือนให้คน “ใฝ่สูง” พัฒนาศรัทธาไปสู่พระเจ้าของเขา
บันไดที่เห็นมักเลื้อยขึ้นท้องฟ้าแบบนี้
แปลกตา
ลดเลี้ยวเหมือนความลังเลใจเมื่อต้องต่างคนต่างไป ไปไม่ไป ไปถึงไหน ไปถึงไหม...
มาถึงเรื่องบันได
มีภาพคุ้นเคยภาพหนึ่งในศิลปะตะวันตก ที่อยากนำมาแทรกลงที่นี่คือภาพที่รู้จักกันว่า
Jacob’s ladder เป็นเรื่องราวในคัมภีร์เก่า (Genesis
28:10-19) เป็นเนื้อหายอดนิยมเนื้อหาหนึ่งในศิลปตะวันตก
เล่าเรื่องตอนที่ จาค็อบเดินทางไปหาลุง มุ่งหน้าไปทางเมือง Haran
เมื่อไปถึงชานเมืองหนึ่ง
มืดค่ำแล้ว ล้มตัวลงนอนพัก
ใช้หินก้อนหนึ่งหนุนศีรษะ หลับไปและฝันเห็นบันไดทอดลงจากสวรรค์ถึงพื้นโลก
มีเทวดาขึ้นๆลงจำนวนมาก พระเจ้ามาปรากฏตัวและบอกเขาว่า
« ดินแดนที่เจ้าหนุนหัวนอนนี้ ต่อไปจะเป็นของเจ้า
ของลูกหลานเจ้าสืบไปไม่สิ้นสุด
เจ้าจะมีลูกหลานมากเท่าจำนวนฝุ่นจำนวนเม็ดทรายทั้งหมดของโลก ลูกหลานเจ้าจะกระจายไปอยู่ทั่วทุกแดนดินทุกทิศ
จงรู้ไว้เถอะว่า ข้าจะอยู่กับเจ้า ไม่ว่าเจ้าจะเร่ร่อนไปไหน
ข้าจะพาเจ้ากลับมาณดินแดนนี้ ดินแดนที่ข้าบอกยกให้เจ้านี้ »
จาค็อบตื่นจากฝัน แน่ใจว่าตรงนั้นคือประตูสู่สวรรค์ รีบยกก้อนหินที่หนุนหัว ให้ตั้งขึ้นแล้วเทน้ำมันรดลงตรงยอดของก้อนหิน
(เป็นการคารวะสถานที่ตรงนั้น) และตั้งชื่อเรียกตรงนั้นว่า Bethel
(ในภาษาฮับรูแปลว่า “บ้านของพระเจ้า”, อยู่ทางเหนือของเยรูซาเล็ม). จาค็อบคนนี้ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อิสราเอล และเป็นหัวหน้าเผ่าชาวยิวในคัมภีร์เก่า.
ดูจินตนาการเรื่องบันไดสู่สวรรค์แบบตะวันตกจากภาพข้างล่างนี้
ภาพชื่อ
“บันไดสู่สวรรค์”
ในหนังสือมิสซาศตวรรษที่15 (Salzburg Missal,
Vol. 4, c. XV Century), Bavarian State Library.
ภาพ “ฝันของจาค็อบ” ผลงานของ William Blake (c. 1800, British
Museum, London). ภาพจาก William Blake [Public
domain], via Wikimedia Commons.
และบันไดสู่สวรรค์ชั้นฟ้าของนาซา
(ภาพจาก https:/www.nasa.gov/mission_pages/spitzer/news/spitzer20121003)
มาถึงตรงนี้
ไหนๆผ่านท้องฟ้ามาเจ็ดชั้นแล้ว ฟังเพลงนี้ให้เพลินๆ คลิกข้างล่างนี้
พูดถึงดวงดาวต่างๆ ต้องนึกถึงสถานที่
ชื่อดวงดาว “จำหลัก” ลงกลางกรุงปารีส
เป็นสถานที่ที่ใครไปปารีส
ต้องไปแวะชม แต่ภาพพิเศษแบบนี้ผิดปกติ
ภาพนี้ถ่ายจากเหตุการณ์การรณรงค์ของกลุ่ม
Greenpeace เมื่อวันที่ 11
ธันวาคม 2015 ที่กรุงปารีสในฝรั่งเศส(เมื่อมีการจัดประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภูมิอากาศของโลก
ปีนั้นเป็นครั้งที่21 ที่กรุงปารีส).
การรณรงค์นี้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีฝรั่งเศส(ในฐานะเจ้าภาพ)
ให้ผลักดันการพัฒนาพลังงานยั่งยืนจากแสงอาทิตย์. กลุ่ม Greenpeace ไปพ่นสีเหลือง(ที่โยงถึงพลังแสงอาทิตย์) บนถนนสิบสองสายที่แยกกระจายออกเป็นรูปดาว
รอบๆวงเวียนที่ตั้งของประตูชัย (Arc de Triomphe) พร้อมคำเรียกร้องขอให้ประธานาธิบดี (ตอนนั้นคือ François Hollande)
บัญญัติกฎหมายในหมู่สหภาพยุโรป (EU)
ให้ประเทศรวยจ่ายค่าเทคโนโลยีเพื่อดูดแกซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศโลก, ให้ทุกชาติหันไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์, ให้ประเทศที่สร้างมลภาวะ (สหรัฐฯ, จีน) รับผิดชอบโลกฯลฯ. เราเลยได้ภาพสวยงามภาพนี้ของ Place de l’Étoile,
Paris.
La Place de l’Étoile เริ่มสร้าง(รื้อถอน
ปรับปรุงและบูรณะตึกรามอาคารสองฝั่งถนนแต่ละสาย) ตามแผนพัฒนาภูมิสถาปัตย์กรุงปารีส
(1852-1870) ของ Georges-Eugène Haussmann ในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่สาม. ดูแผนผังวงเวียนและชื่อถนนสิบสองสายข้างล่างนี้
La Place de
l’Étoile ต่อมาเปลี่ยนชื่อทางการเป็น la
place Charles-de-Gaulle เมื่อวันที่ 13
พฤศจิกายน 1970 เป็นเกียรติแก่นายพลเดอโกล (สี่วันหลังจากที่ท่านนายพลถึงแก่อนิจกรรม). แต่คนทั่วไป(และชาวโลก)ก็ยังเรียกชื่อเดิมอยู่อีก.
มีเรื่องเล่าสั้นๆเกี่ยวกับ La
Place de l’Étoile. วันหนึ่งหลายสิบปีแล้ว มีคนมาเคาะประตูหอพักของข้าพเจ้า เปิดออกเห็นพี่นนท์(ของน้อยขนิษฐา)
ยืนยิ้มแหยๆ เย็นจะค่ำแล้ว “พี่นนท์! มาจากไหนนี่ ทานข้าวมารึยัง” พี่บอกว่า“ยัง กำลังหิว”.
เอาล่ะสิ ทำอะไรให้พี่เขากินได้นะ คิดได้ล่ะ อาหารยอดนิยมของคนไทยในต่างแดน
ข้าวไข่เจียวไง.
หอพักนักเรียนฝรั่งเศส
มีเตียงนอนเล็กๆขนาดเล็กกว่าเตียงเดี่ยวในเมืองไทย มีโต๊ะนักเรียนให้อ่านเขียน
มีอ่างล้างหน้า. เรียบง่าย. แต่นักเรียนต่างชาติก็เอาอะไรต่ออะไรสารพัด เข้าไปใส่จนเต็มเพื่อความอยู่รอดตามแบบชาตินิยมส่วนตัว.
โชคดีที่มีเตาเล็กๆ มีกระทะเล็กๆ
เลยได้ทำข้าวไข่เจียวให้พี่เขากินกันตาย ตรงพื้นที่ปลายเตียงนั่นแหละ. คุยกันไปมาว่ามาถึงปารีสได้ไง ไม่บอกไม่กล่าวกันล่วงหน้า และยังตรงมาหาถึงหอพักได้คนเดียว
ต้องนับว่าเก่งมาก. ถามพี่เขาว่า
พักที่ไหน พี่ตอบว่า “ ที่ อีตัว ” ฮะ! “ อีตัวไหน? ” พี่บอกว่าไม่ไกลจากประตูชัย…
นิ่งไปหนึ่งวิ ค่อยหัวเราะออก “ พี่ เขาอ่านว่า เอ-ตัวเหลอะ ”. กินเสร็จ พี่บอกว่ากลับเองได้ “ไปรถไฟใต้ดิน สายตรง ถึงอีตัวเลย”. “ห้ามไปที่อีตัว! ไป เอ-ตัวเหลอะ”.
ได้เวลา คลิกฟังเพลงและร้องคลอไปด้วยเลย
1. ฟังเพลง When you wish
upon a star
เพลงนี้ Leigh Harline & Ned
Washington
แต่งขึ้นเพื่อประกอบภาพยนต์เรื่อง Pinocchio ของ Waltz Disney (1940).
2. ภาพจาก Alaska Awa
Canning River
Motivation and
emotion : from en.wikiversity.org
เพลง Look to the rainbow (Deborah Cox lyrics)
ประกอบภาพยนต์ Finian’s
Rainbow, 1998 (Petula Clark)
3. ภาพจากเน็ตที่
Somewhere over the rainbow (1939)
เพลงประกอบภาพยนต์ The Wizard of Oz (Judy Garlands)
เทคโนโลยีปัจจุบันพาทะลุท้องฟ้าชั้นต่างๆ ไปถึงดาวดวงอื่นๆ
ไปไหน ไปไกลอย่างไร กลับสู่มาตุภูมิแดนพุทธเถิด…
« บุคคลย่อมข้ามห้วงกิเลสได้ด้วยศรัทธา
ย่อมข้ามมหาสมุทรได้ด้วยความไม่ประมาท
ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
และบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา
»
ภาพของท่านอาจารย์จักรพันธุ์
โปษยกฤต อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ >>
โชติรส รายงาน
สดชื่นเบิกบานตลอดปี
ตลอดไปค่ะ…
๑ มกราคม ๒๕๖๑.