แปลกใจไม่น้อยที่นิทรรศการเริ่มด้วยตู้แสดงเครื่องมือดาราศาสตร์
มิได้มีคำอธิบายที่กระจ่างพอ นอกจากระบุว่าเครื่องมือชิ้นนั้นคืออะไร มาจากไหน
จากนั้นก็มีเครื่องกลอัตโนมัติก่อนจะเป็นตัวอย่างหุ่นยนต์รุ่นต่างๆ
ตั้งแต่ตัวแรกๆมาจนถึงหุ่นปี2015.
ดาราศาสตร์เกี่ยวอะไรกับหุ่นยนต์
จึงนั่งอ่านอะไรๆเกี่ยวกับดาราศาสตร์ (จนถึงปลายศตวรรษที่ 16 ดาราศาสตร์กับโหราศาสตร์เป็นเรื่องเดียวกัน
และข้าพเจ้าใช้คำดาราศาสตร์ในความหมายกว้างๆในงานเขียนนี้). การศึกษาดวงดาวและท้องฟ้านั้น
เริ่มมานานมากแล้วในโลกยุคก่อนประวัติศาสตร์ และความรู้จากโลกโบราณเหล่านั้น
สำคัญและจำเป็น มันพาคนก้าวข้ามไปสู่ศาสตร์และเทคนิคใหม่ๆ. ข้าพเจ้าจึงต้องแกะรอยย้อนหลังไปให้ไกลที่สุดที่มีข้อมูลไปถึง
อ่านอยู่หลายเดือน ในที่สุดพอจะเข้าใจว่า ทำไมจึงต้องเริ่มเดินทางไปกับดวงดาวในท้องฟ้าก่อนไปเกยฝั่งแดนหุ่นยนต์.
ติดตามเส้นทางการเรียนรู้เรื่องหุ่นยนต์
ตามลำดับดังนี้
1. ติดตามดวงดาว ไปจับเวลาชีวิต
ตอนที่ ๑
2. ติดตามดวงดาว ไปจับเวลาชีวิต
ตอนที่ ๒
3. ชีวิตไขลาน
4. หุ่นยนต์ ฝาแฝดของคน
5. เจาะใจไปถึงสมองกล
6. มาเรีย หุ่นยนต์ตัวแรก ใน Metropolis
7. ระบบเฟืองสู่ระบบเน็ต ตัวอย่างในภาพยนต์เรื่อง Hugo
8. ท้องฟ้าจำลองสุดอัศจรรย์ในเนเธอแลนด์ – Eise Eisinga Planetarium
Last updated on July 1, 2018.
โชติรส
โกวิทวัฒนพงศ์.
ติดตามดวงดาวไปจับเวลาชีวิต ได้สาวไปถึงต้นกำเนิดของเครื่องกลอัตโนมัติแบบต่างๆ ไปถึงหุ่นยนต์แบบต่างๆ ที่นำไปสู่การมองอนาคตของมนุษยชาติในแวดล้อมของหุ่นยนต์ ที่เป็นฝาแฝดของคนแล้ว ถึงยุคที่คนต้องกลับไปเจาะลึกเข้าไปในสมองกลที่วิวัฒน์สั่งสมข้อมูลเป็นเนื้อหาใหม่ๆ ที่เมื่อแรก คนทำไม่ได้เป็นคนใส่ข้อมูลนั้น. มนุษยชาติ(เกือบ)กลายเป็นทาสของสมองกลแล้ว.
ReplyDelete